รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01465


ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma longa L.

สกุล

Curcuma L.

สปีชีส์

longa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Amomum curcuma Jacq.

Curcuma brog Valeton

Curcuma domestica Valeton

ชื่อไทย
ขมิ้น
ชื่อท้องถิ่น
ขมิ้นชัน(กลาง ใต้) / ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่)/ ขี้มิ้น หมิ้น (ตรัง ใต้)
ชื่อสามัญ
Turmeric
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ลงหัวจำพวกว่านหรือขิง และเป็นไม้ล้มลุก
ใบ ใบโตกว่าใบกระชาย
ลำต้นใต้ดิน เหง้าและแหง่งมีสีเหลืองจัด
ดอก เป็นช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางจนกระทั่งความสูง 1350 ม. ต้องการน้ำฝนปีละ 125-225 มม. ชอบดินร่วนปนทราย และระบายน้ำได้ดี

ถิ่นกำเนิด

ขมิ้นเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การกระจายพันธุ์

แพร่กระจายไปยังยุโรปและส่วนต่างๆทั่วโลก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า และแง่ง

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

เหง้า มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ช่วยในเรื่องลดการอักเสบของแผล และผิวหนังช่วยเร่งการสร้างน้ำดีทำให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารได้ดีมากขึ้น ทำให้ช่วยบรรเทาอาการท้องแน่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

อภิชาต ศรีสะอาด. 2551. สมุนไพรไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช & พรรณไม้พิษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท นาคา อิเตอร์มีเดีย จำกัด. 116 น.

ThaiHerbal.org. 2014. “ขมิ้น.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/41 (17 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Curcuma longa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-235249 (17 ตุลาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Curcuma longa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:796451-1 (17 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้