รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02406


ชื่อวิทยาศาสตร์

Fagraea fragrans Roxb

สกุล

Fagraea Thunb.

สปีชีส์

fragrans

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cyrtophyllum fragrans (Roxb.) DC.

Cyrtophyllum giganteum Ridl.

ชื่อไทย
กันเกรา
ชื่อท้องถิ่น
ตำเสา (ใต้,ระนอง)/ ทำเสา(ใต้)/ มันปลา (เชียงใหม่ เหนือ)
ชื่อสามัญ
Anan/ Tembusu/ Ironwood
ชื่อวงศ์
LOGANIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแน่นเป็นรูปกรวยคว่ำ ทรงพุ่มแน่นปลายกิ่งลู่ลง เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่องลึกตามยาว

ใบ ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนตามปลายกิ่ง ใบรูปรี โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบหนาและเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-13 ซม. ก้านใบยาว 0.6-1.8 ซม. มีหูใบระหว่างก้านใบคล้ายรูปถ้วยเล็กๆ

ดอก ดอกเป็นช่อกระจะแยกแขนง ออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ออกดอกหนาแน่นเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. กลีบเลี้ยงสีเหลือง 5 กลีบ เชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ยาว 2-3 มม. ดอกมีสีขาวเมื่อเริ่มบาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อใกล้จะร่วงจะมีสีเข้มขึ้น ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน ยาว 1.2-2.2 ซม. ปลายดอกแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวพ้นปากหลอด 1.8-2.3 ซม. มียอดเกสรเพศเมียบวมพอง

ผล ทรงกลม ผลอ่อนสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นแดงอมส้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 มม. ปลายผลมีติ่งแหลมสั้น ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีรสขม

เมล็ด มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก สีน้ำตาลไหม้

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามที่ราบต่ำที่ชื้นแฉะ โล่ง บนดินร่วนปนทรายที่ชื้นแฉะ ป่าบึงน้ำจืดและที่ต่ำชื้นแฉะใกล้น้ำ

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเชีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ, ขยายพันธุ์ดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
มิถุนายน-สิงหาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ใบ เป็นยาแก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้หืด รักษาโรคผิวหนังพุพอง

แก่น มีรสมันฝาดขม แก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้ริดสีดวง แก้ท้องมาน แก้ลงท้อง มูกเลือด แก้แน่นอก โลหิตพิการ ขับลม แก้ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกาย บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ

ช่อดอก ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเก็บช่อดอกมากำบูชาพระ

เนื้อไม้ นิยมใช้ทำเสาบ้านหมอนรางรถไฟ เครื่องเรือน

ผล รสฝาดขม ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น หืด ไอ ริดสีดวง ท้องมาน แน่นหน้าอก  เป็นมูกเลือด แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดลมพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ เปลือกบำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน

ไม้ ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำหีบจำปาใส่ศพ ทำกระดูกงูโครงเรือ เสากระโดงเรือ ใช้เข้ายา บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น เปลือกบำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญ พาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด.

มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด.กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Fagraea fragrans Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2807419 (22 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Fagraea racemosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:25059-1 (22 มิถุนายน 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้