รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02515


ชื่อวิทยาศาสตร์

Gardenia sootepensis Hutch.

สกุล

 Gardenia J.Ellis

สปีชีส์

sootepensis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Gardenia massieana Pierre ex Pit. [Invalid]

ชื่อไทย
คำมอกหลวง
ชื่อท้องถิ่น
ไข่เน่า(กลาง,ลพบุรี)/ คำมอกช้าง(เหนือ)/ ผ่าด้าม(กลาง นครราชสีมา)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
RUBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กหรือขนาดกลาง สูง 5 -10 ม.  เรือนยอดแผ่กว้าง กลม ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกต้นแข็งและหนา สีเทา ค่อนข้างเรียบ สามารถหลุดออกเป็นแผ่น มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 8 -15 ซม. ยาว 10 - 30 ซม. โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม ใบค่อนข้างหนา  ยอดของใบอ่อนมีหูใบสีเหลืองหุ้มไว้  หลุดร่วงง่าย หูใบนี้จะไม่ร่วงแต่ติดอยู่ระหว่างก้านใบโดยเชื่อมเป็นวงรอบกิ่ง ก้านใบยาว 0.5 – 1.0 ซม.

ดอก เดี่ยว สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกตามซอกใบ ประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยงปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแฉก 5 แฉก ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่น ยกเว้นกลีบดอกด้านใน กลีบดอกหนา ขอบบิดและม้วน ดอกแรกบานมีสีเหลืองนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มเมื่อใกล้โรย เกสรเพศผู้จำนวน 5 อันโผล่เกือบพ้นหลอดกลีบดอก

ผล สด รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2 – 3 ซม. ยาว 3 – 5 ซม. มีสันตื้น 5 สัน ผลสุกสีเหลือง มีเนื้อสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าไม้เต็งรังและป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่สูง 200-400 ม. เหนือจากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ดอยสุเทพ  ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

พบในพม่า ลาว

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-ตุลาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

-ทนแล้ง เหมาะจะปลูกเพื่อให้ร่มเงาในบ้านมากเพราะดอกหอม

-เมล็ด เมื่อต้มกับน้ำสะอาดจะเกิดฟองสามารถนำไปใช้เป็นแชมพูสระผม ช่วยให้ผลนิ่มและลื่น และช่วยกำจัดเหา

-ผล ผลสุกสามารถรับประทานได้มีรสชาติ เปรี้ยว

-ลำต้น ใช้ทำของเล่นเป่าให้เกิดสียงเรียกว่า “โหวด”

-สามารถปลูกเป็นพืชให้ร่มเงาและพืชประดับเพื่อความสวยงามได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรใน

งานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “คำมอกหลวง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=73&view=showone&Itemid=59 (28 ตุลาคม 2559)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.  โอ.เอส.พริ้นเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 153 น.

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2.เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Gardenia sootepensis Hutch.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-88455 (18 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Gardenia sootepensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:751253-1 (18 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้