รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02548


ชื่อวิทยาศาสตร์

Gloriosa superba L. 

สกุล

Gloriosa L.

สปีชีส์

superba

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
ชื่อไทย
ดองดึง
ชื่อท้องถิ่น
ก้ามปู (กทม. พิษณุโลก)/ คมขวาน (กลาง ประจวบคีรีขันธ์)/ ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (กลาง)/ บ้องขวาน (ชลบุรี ตราด)
ชื่อสามัญ
Climbing lily
ชื่อวงศ์
COLCHICACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น  ไม้เถาล้มลุกขนาดเล็ก อายุหลายปี  เลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 ม. ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน รูปร่างกลมเรียว มีหงอนเหมือนขวาน

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 ซม. ไร้ก้าน ปลายใบแหลมยืดยาวออกทำหน้าที่เป็นมือเกาะ โคนใบมน เส้นใบขนานกันไปสิ้นสุดที่ปลายใบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายเถา สีเหลืองปลายกลีบสีแดง โคนกลีบเมื่อบานใหม่ๆมีสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงทั้งดอก  มีกลีบ 6 กลีบ สีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวและแดง กลีบรูปแถบ เรียวยาว 5.0-7.5 ซม. โค้งกลับไปทางก้านดอก ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกศรเพศผู้มี 6 อัน ชี้ออกเป็นรัศมีตามแนวนอน ก้านยาว 3-5 ซม. อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม.

ผล ผลเป็นฝัก แห้งแตกได้ รูปกระสวย ปลายผลแหลม ขนาดกว้าง 2.5-3.0 ซม. ยาว 6-8 ซม. ผิวเรียบ มักมีสันตื้นๆ มี 3 พู

เมล็ด เมล็ดกลมสีส้มแกมน้ำตาล จำนวนมาก 

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดงดิบเขาชื้น ที่รกร้างว่างเปล่าที่มีความชุ่มชื้นสูง

ถิ่นกำเนิด

แอฟริกา และเอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

ประเทศตรินิแดดและโตเบโก รัฐควีนส์แลนด์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกเหง้า

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

-ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ระบุไว้ว่า รากและเหง้า เป็นยาที่อันตรายมาก เหง้าและเมล็ดมีพิษมาก ใช้รักษาโรคมะเร็ง        
ตำรายาไทย  ใช้ หัว และเมล็ด แก้ปวดตามข้อ แก้โรคเรื้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ฝนน้ำทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ให้สัตว์กินเพื่อขับพยาธิ

-ในการแพทย์แผนปัจจุบัน ใช้เหง้า สกัดเป็นสารบริสุทธิ์ ซึ่งมีแอลคาลอยด์ colchicines ทำเป็นยาเม็ดรักษาโรคเกาต์ (ปวดข้อ)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ดอกดึง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=43  (20 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Gloriosa superba L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-307988 (20 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Gloriosa superba.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:535953-1 (20 พฤษภาคม 2560)

WIKIPEDIA. 2017. “Gloriosa superba.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Gloriosa_superba (20 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้