รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02557


ชื่อวิทยาศาสตร์

Gmelina philippensis Cham.

สกุล

Gmelina L.

สปีชีส์

philippensis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Gmelina finlaysoniana Wall.

Gmelina hystrix Schult. ex Kurz

ชื่อไทย
ซ้องแมว
ชื่อท้องถิ่น
ซ้อแมว(ลำปาง)/ เล็บแมว (สระบุรี)/ หางกระรอกแดง (ภาคกลาง)/ ข้าวจี่ (ทั่วไป)/ จิงจาย (ใต้)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้รอเลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 8 ม. ลำต้นตรงหรือเอนคล้ายไม้เลื้อย เปลือกลำต้นและกิ่งเมื่อยังอ่อนสีเหลืองอมน้ำตาล เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอมเทา

ใบ ใบเดี่ยว ออกคู่หรือสามใบจากตาของกิ่งและก้านสาขา มักมีหนามแหลมยาวก้านใบ ยาว 1-5 ซม. ยาว 1.5-10.0 ซม. ปลายใบแหลม เรียวแหลมหรือโค้งมนเล็กน้อยถึงเว้าเป็น 2 พู โคนใบมนเล็กน้อยหรือสอบแคบคล้ายรูปลิ่ม ขอบใบเรียบหรืออาจจะพบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเกลี้ยง หลังใบมีสีเข้มกว่าใต้ท้องใบเล็กน้อย

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ใบประดับค่อนข้างโต คล้ายใบ สีเขียว เหลือง ม่วงหรือแดง ดอกย่อยสมบูรณ์ ห้อยลง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีเหลือง ยาว 4.5-5.5 ซม. เชื่อมติดกัน ปลายแยก 4-5 แฉก ผิวเกลี้ยงหรือมีขนปกคลุมประปราย เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่รวมกันเป็นคู่ ยาวไม่เท่ากัน

ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0-3.5 ซม. เมื่อสุกมีสีเหลือง

เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่แกมขอบขนาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบผสม ในระดับพื้นล่างจนถึงพื้นที่สูง 1.500 ม. เหนือจากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งฟิลิปปินส์)

การกระจายพันธุ์

อินเดีย พม่า ประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ ถึงฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผล เชื่อมกับน้ำตาลเป็นของหวาน

ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับเหงื่อ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ดับพิศร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน แก้ตามขโมย โรคท้องมานและวัณโรค และยังใช้เป็นยาแก้ปวด ปวดตามข้อ ปวดหู ปวดฟัน ปวดศีรษะ ตาอักเสพ ตลอดจนถึงขับพยาธิในลำไส้

ใบ ตำพอกแก้ผมร่วง บาดแผลและแก้ปวดศีรษะ คั้นน้ำหยอด แก้ปวดหู ดื่มแก้ปวดฟัน เหงือกอักเสพ

ผล คั้นน้ำทาแก้แผลถูกน้ำกัด หยอดหูแก้ปวดหู กินแก้ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ แก้แ โรคท้องมานและวัณโรค

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.752 น.

TopTropicals.com. 2017. “Gmelina philippensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://toptropicals.com/catalog/uid/gmelina_philippensis.htm (20 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Gmelina philippensis Cham.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-91224 (20 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Gmelina philippensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:862965-1 (20 พฤษภาคม 2560)

Wigerts Bonsai. 2017. “Gmelina philippensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.wigertsbonsai.com/gmelina-philippensis-2/ (20 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้