รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02592


ชื่อวิทยาศาสตร์

Graptophyllum pictum (L.) Griff.

สกุล

Graptophyllum Nees

สปีชีส์

pictum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Graptophyllum pictum var. luridosanguineum (Sims) Bremek. & Backer

Graptophyllum hortense var. rubrum Hassk.

Graptophyllum hortense var. viride Hassk.

Justicia picta L.

ชื่อไทย
ใบเงิน
ชื่อท้องถิ่น
ใบทอง ใบบาก (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
Caricature plant
ชื่อวงศ์
ACANTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. เปลือกต้นเรียบ

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน รูปรี กว้าง 4-6 ม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ใบเป็นลายมีหลายสี จะเรียกตามสีและลักษณะที่ด่าง เช่น ใบทอง คือใบที่มีสีเขียว มีสีเหลืองเข้มแทรกตามริมใบ ใบเงิน คือ  ใบสีเขียว มีสีขาวหรือสีเหลืองแทรกอยู่กลางใบ ในบาก คือ ใบสีเขียวเข้มหรือสีเขียวแกมน้ำตาล มีสีชมพูแทรกอยู่กลางใบ

ดอก ดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีม่วงแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด เกสรเพศผู้ 2 อัน

ผล ฝักแห้งแตกเป็น 2 ซีก รูปรี ปลายฝักเป็นติ่งแหลม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แสงแดดส่องถึงตลอดวัน

ถิ่นกำเนิด

ประเทศนิวกินี

การกระจายพันธุ์

อินเดีย, ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ใบ มีรสเย็นจืด แก้พิษร้อน ดับพิษ

เกสร มีรสหวานเย็นเล็กน้อย แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

The Plant List. 2013. “Graptophyllum pictum (L.) Griff.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2831783 (22 พฤษภาคม 2560)

WIKIPEDIA. 2016. “Graptophyllum pictum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Graptophyllum_pictum (22 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้