รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02598


ชื่อวิทยาศาสตร์

Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson

สกุล

Amorphophallus Blume ex Decne.

สปีชีส์

paeoniifolius

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Amorphophallus campanulatus Decne.

Amorphophallus campanulatus var. blumei Prain

Amorphophallus campanulatus f. darnleyensis F.M.Bailey

Amorphophallus chatty Andrews

Amorphophallus decurrens (Blanco) Kunth

ชื่อไทย
บุกคางคก
ชื่อท้องถิ่น
มันซูรัน (กลาง)/ บุกคุงคก (ชลบุรี)/ เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)/ หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร)/ กระบุก(บุรีรัมย์)
ชื่อสามัญ
Elephant yam/ Whitespot giant arum
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 5 ฟุต เจริญเติบโตในฤดูฝน และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล มีอายุอยู่ได้นานหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ไม่มีแก่น ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดง หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก ก้านใบยาว 150-180 เซนติเมตร กลม อวบน้ำ 

ดอก ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาลแล้วแต่พันธุ์ ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า 

ผล ผลรูปทรงรียาว เป็นผลสด เนื้อนุ่ม ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และชายป่าดิบชื้น พื้นที่สูง 700 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

บุกคางคกเป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การกระจายพันธุ์

พบที่มาดากัสการ์ อินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค 

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกกอ แบ่งหัว ใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

หัว มีรสเบื่อเมา คัน กัดเสมหะเถาดาน แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี (สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น เป็นอาหารดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด และปรุงอาหารรักษาสุขภาพ) นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอ

ญี่ปุ่น  ใช้  ทำอาหารลดความอ้วน

ลำต้นใช้ใส่แกงเป็นอาหารได้
 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “บุกคางคก.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=68 (25 กันยายน 2560)

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "บุกคางคก." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsLinkno=3096&words=บุกคางคก&typeword=word (25 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-8254 (25 กันยายน 2560)

wikipedia. “บุกคางคก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wikiบุกคางคก (25 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้