รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03248


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ipomoea batatas (L.) Lam.

สกุล

Ipomoea L.

สปีชีส์

batatas

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Batatas edulis (Thunb.) Choisy

Batatas edulis var. porphyrorhiza (Griseb.) Ram. Goyena

Batatas wallii C. Morren

Convolvulus apiculata M. Martens & Galeotti

Convolvulus attenuatus M. Martens & Galeotti

ชื่อไทย
มันเทศ
ชื่อท้องถิ่น
มันแกว มันแก๋วแดง (ภาคเหนือ)/ หมักอ้อย (ละว้า-เชียงใหม่)/ แตลอ (มลายู-นราธิวาส)/ มันหลา (ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
Sweet potato
ชื่อวงศ์
CONVOLVULACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้หัว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นเลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ มีหัวใต้ดิน สะสมอาหาร มีเนื้อ อวบน้ำ 

ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจถึงรูปไข่ ขอบใบเรียบ หรือหยักซี่ฟัน หรือหยักเป็น 3 พู 

ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบ มีจำนวนดอกน้อย กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานถึงรูปไข่ ปลายเรียวแหลม กลีบดอกสีฟ้าถึงสีม่วง โคนดอกเป็นหลอด 

ผล มีเปลือกแข็งหุ้ม มีลักษณะเป็นแคปซูล 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี แสงแดดจัด พื้นที่สูง 0-1,300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มันเทศมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางหรืออเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์

เส้นทางการกระจายพันธุ์ของมันเทศมี 3 ทิศทางคือ เส้นทางกูมาราออกจากทางเหนือของอเมริกาเหนือไปยังแถบตะวันตกของพอลินีเซีย เส้นทางบาตาตาสเข้าสู่แอฟริกาและเอเชียผ่านทางยุโรป และเส้นทางกาโมเต จากเม็กซิโกเข้าสู่ฮาวาย กวมแล้วผ่านไปยังฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด แยกหัว

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ใบ รสเมามัน ตำละเอียดผสมเกลือ ใช้พอกฝี

หัว รสมัน ชงน้ำดื่มแก้กระหายน้ำ บำรุงม้ามไต แก้เมาคลื่น น้ำคั้นจากหัวทาแผลไฟไหม้

เถา รสเมามัน ต้มดื่มแก้ไขข้ออักเสบ

รากและใบ รสเมามัน ตำพอกบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง

ทั้งต้นและหัว รสเมามัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สมุนไพรดอทคอม. 2016. “มันเทศ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.samunpri.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/ (10 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Ipomoea batatas (L.) Lam.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-8500721 (10 มิถุนายน 2560)

Wikipedia. “มันเทศ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/มันเทศ (10 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้