รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03301


ชื่อวิทยาศาสตร์

Kaempferia parviflora Wall. ex Baker

สกุล

Kaempferia L.

สปีชีส์

parviflora

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Kaempferia rubromarginata (S.Q.Tong) R.J.Searle

Stahlianthus rubromarginatus S.Q.Tong

 

 

 

 

 

ชื่อไทย
กระชายดำ
ชื่อท้องถิ่น
ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ)/ ขิงทราย (มหาสารคาม)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หัว เหง้ารูปทรงกลม เรียงต่อกัน มักมีขนาดเท่าๆกัน หลายเหง้า อวบน้ำ ผิวเหง้าสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม อาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ เนื้อภายในสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม จนถึงสีม่วงดำ  มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติขมเล็กน้อย

ต้น ลำต้นเทียมมีกาบใบอวบหนาหุ้มไว้

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันเป็นรูปกรวย รูปรี ปลายใบแหลม 

ดอก ดอกเป็นช่อแทงออกมาระหว่างก้านใบ สีขาวอมชมพู

ผล ผลขนาดเล็ก เมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็น 3 แฉก ภายในมีเมล็ดขนาดใหญ่

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบขึ้นตามธรรมชาติบนภูเขา ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี พื้นที่สูง 630 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

กระชายดำเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การกระจายพันธุ์

เขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกเหง้า แบ่งหัว

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ใช้บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า  และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง  หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก หรือต้มดื่มแก้โรคตา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2015. “บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/374/กระชายดำ/ (15 กันยายน 2560)

ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “กระชายดำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=4 (15 กันยายน 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Kaempferia parviflora.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1138&name=- (15 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Kaempferia parviflora Wall. ex Baker.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-250819 (15 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้