รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03313


ชื่อวิทยาศาสตร์

Kerriodoxa elegans J.Dransf. 

สกุล

Kerriodoxa J.Dransf.

สปีชีส์

elegans

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ปาล์มพระยาถลาง
ชื่อท้องถิ่น
เจ้าเมืองถลาง พระยาถลาง (กลาง)/ ชิงหลังขาว ทังหลังขาว (ภูเก็ต)
ชื่อสามัญ
White elephant palm/ White backed palm
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ปาล์มพระยาถลางเป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ซม. สูงได้ถึง 5 ม. 

ใบ ขอบใบจักเว้าลึกครึ่งใบ แผ่นใบแผ่กาง ขนาด 2 ม. มีสีเขียวเข้ม ใต้ใบมีนวลสีขาวปกคลุมดูเด่นชัด ก้านใบสีดำ ยาว 1 ม. ขอบก้านมีหนาม 

ดอก ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบ เป็นช่อกลมสั้น 

ผล ผลกลม มีขนาด 3 ซม. เมื่อสุกแล้วมีสีส้ม 

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามบนเนินเขาที่ชื้น ตามแนวชายฝั่ง พื้นที่สูง 100-300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ของประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด 

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกลงแปลงในที่ร่มรำไร

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, กรุงเทพมหานคร. 304 น.

Palmpedia. “Kerriodoxa elegans.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.palmpedia.net/wiki/Kerriodoxa_elegans (27 กุมภาพันธ์ 2560).

The Plant List. 2013. “Kerriodoxa elegans J.Dransf.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-105915 (27 กุมภาพันธ์ 2560).

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้