รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03326


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lactuca sativa L. var. longifolia 

สกุล

Lactuca L.

สปีชีส์

sativa

Variety

longifolia 

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ผักกาดหวานเล็ก
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Baby Cos
ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมๆ อวบอ้วน มีข้อสั้นๆ จะมีก้านใบหนาและอวบฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ กาบใบห่อซ้อนกันแน่น ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ปกคลุมที่โคนลำต้น ไม่ห่อหัว ก้านมีสีเขียวอ่อน

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงโคนลำต้น ออกตามข้อสั้น กาบใบห่อซ้อนกันแน่น ออกเรียงสลับรอบๆ ใบอยู่ด้านนอกใหญ่กว่าใบข้างในเล็กกว่า มีลักษณะทรงกลมเรียวรี โคนใบกว้างใหญ่กว่า มีใบหนา เห็นเส้นใบชัดเจน ใบด้านนอกสีเขียวเข้ม ใบด้านในสีเขียวอมเหลือง มีก้านใบใหญ่ เป็นกาบหนาและอวบฉ่ำน้ำ ก้านมีสีเขียวอ่อน

ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก แบบเชิงหลั่น มีดอกย่อยออกโคนไปที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน

ผล มีผลเป็นเมล็ด อยู่ในรังไข่ มีเมล็ดจำนวนมาก มีลักษณะทรงหอก แบนยาวรี มีเปลือกหุ้มเมล็ด มีสีเทานวล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ผักสลัดเบบี้กรีนคอสเป็นพืชที่สามารถ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญเติบโตได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยุโรป 

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ใช้รับประทานเป็นผักสลัด นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู

มีสารอาหารหลากหลาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยบำรุงตับ แก้ปวด แก้ปวดเอว แก้กระหายน้ำ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้ไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาเจ็บคอ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องผูก ช่วยระบบขับถ่าย เป็นยาระบาย ช่วยขับลม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยบำรุงสายตา แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยลดความดันโลหิตสูง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Thai-thaifood.com. “ผักสลัดเบบี้กรีนคอส.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thai-thaifood.com/th/ผักสลัดเบบี้กรีนคอส/ (14 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Lactuca sativa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-89778 (14 มิถุนายน 2560)

Wikipedia. “ผักกาดหอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ผักกาดหอม (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้