รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03327


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lactuca sativa L. var. longifolia

สกุล

Lactuca L.

สปีชีส์

sativa

Variety

longifolia

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ผักกาดหวาน
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Cos Lettuce, Romain Lettuce
ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ

ใบ ลักษณะใบยาวรี ซ้อนกันเป็นช่อ ใบบางกรอบ การปลูกดูแลรักษาคล้ายผักกาดหอมห่อ แต่จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปบ้างตามสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีชนิดใบกลมห่อหัวแน่น

ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก แบบเชิงหลั่น มีดอกย่อยออกโคนไปที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ผักกาดหวานเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น  อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24 องศาเซลเซียส

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถูสูง

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยุโรป 

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ผักกาดหวานเป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้ในบางชนิด

มีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). “ผักกาดหวาน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/24 (14 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Lactuca sativa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-89778 (14 มิถุนายน 2560)

Wikipedia. “ผักกาดหอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ผักกาดหอม (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้