รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03333


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.

สกุล

Lagerstroemia L.

สปีชีส์

speciosa 

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Adambea glabra Lam.

Adambea hirsuta Lam.

Lagerstroemia major Retz.

Lagerstroemia hirsuta (Lam.) Willd.

Lagerstroemia plicifolia Stokes

ชื่อไทย
อินทนิลน้ำ
ชื่อท้องถิ่น
ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)/ ฉ่องมู ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ บาเย บาเอ (มลายู-ปัตตานี)/ อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
Queen’s Flower/ Queen’s crape myrtle/ Pride of India/ Jarul
ชื่อวงศ์
LYTHRACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 5-20 ม. ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เปลือกต้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เรียบไม่แตกเป็นร่อง

ใบ เดี่ยว ออกเป็นคู่หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 ซม. ยาว 12-26 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวเนื้อใบค่อนข้างหนา และเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน

ดอก สีชมพูถึงม่วง ออกดอกเป็นช่อยาวถึง 30 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอกมี 6 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 10 ซม. กลีบดอกมีสันนูนตามยาว รูปช้อนปลายแผ่ โคนเป็นก้านเรียว แผ่นกลีบเป็นริ้วคลื่น มีเกสรเพศผู้จำนวนมากกลางดอก ปลายเกสรสีเหลือง

ผล รูปไข่ ผิวเกลี้ยง ยาว 2.0-2.5 ซม. เมื่อแก่ผลแตกเป็น 6 แฉก

เมล็ด มีขนาดเล็ก มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ตามที่ราบลุ่มและริมน้ำในป่าเบญจพรรณชื้น และชายป่าดงดิบ

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ต้น มีรูปทรงและให้ดอกสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ

ใบ ใช้ใบอ่อนตากแดด นำมาชงเป็นชาช่วยรักษาโรคเบาหวาน ลดความอ้วน ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

ราก มีรสขม นำมาต้มน้ำดื่ม หรือนำมาตำแล้วพอกบริเวณท้อง ช่วยรักษาแผลในช่องปากและคอ ช่วยสมานท้อง

เปลือก ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้อาการท้องเสีย

เมล็ด ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการนอนไม่หลับ รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 205 น.

ThaiHerbal.org. 2014. “อินทนิลน้ำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1842 (10 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2353907 (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้