รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03341


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lasia spinosa (L.) Thwaites

สกุล

Lasia Lour.

สปีชีส์

spinosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Dracontium spinosum L.

Lasia aculeata Lour.

Lasia crassifolia Engl.

Lasia crassifolia f. angustisecta Engl.

ชื่อไทย
ผักหนาม
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ARACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ยอดชูขึ้น มีหนามแหลมตามลำต้น ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซม. ยาวได้ถึง 75 ซม.

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปหัวลูกษร ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉกถึงเส้นกลางใบ ใบกว้างมากกว่า 25 ซม. ยาว 30-40 ซม. ใต้ท้องใบบริเวณเส้นใบมีหนาม ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าลึก 9 พู ใบอ่อนม้วนเป็นแท่งวงกลม ปลายแหลม ก้านใบรูปทรงกระบอก แข็ง ยาว 40-120 ซม. มีหนามตามก้านใบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อเชิงลดทรงกระบอก เป็นแท่ง ยาวประมาณ 4 ซม. แทงออกจากกาบใบ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 75 ซม. และมีหนาม มีดอกย่อยอัดแน่นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบประดับยาวสีน้ำตาลแกมเขียวมักบิดเป็นเกลียว ยาวได้ถึง 55 ซม. ดอกสีชมพูและเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมเขียว ดอกเพศผู้อยู่ตอนบนและมีจำนวนมาก ดอกเพศเมียอยู่ตอนล่าง และมีจำนวนน้อยกว่า

ผล เรียงชิดกันแน่น เป็นแท่งรูปทรงกระบอก ผลสด หนาและเหนียว ผลอ่อนสีเขียวอ่อนเนื้อนุ่ม ผลแก่สีเหลืองแกมแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบที่ชื้นแฉะและมีน้ำขัง ชอบขึ้นตามริมน้ำ หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

อินเดีย ตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกกอ เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-มิถุนายน
ระยะเวลาการติดผล
มิถุนายน-สิงหาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ลำต้น ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ต้มน้ำอาบแก้คันเนื่องจากพิษหัดเหือด และไข้ออกผื่น สุกใส ดำแดง และใช้ถอนพิษ 

ใบ แก้ปวดท้อง แก้ไอ 

ราก ต้มน้ำให้เด็กแรกเกิดอาบ แก้เจ็บคอ 

เหง้า เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ต้มน้ำอาบแก้คันเนื่องจากพิษหัด เหือด สุกใส ดำแดง และโรคผิวหนัง 

ยอดอ่อนและใบอ่อนรับประทานเป็นผัก โดยนำมาลวก หรือต้มกับกะทิ หรือทำผักดอง กินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง แกงส้ม แกงไตปลา หรือผัด 

หมายเหตุ

ใบและก้าน มีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์เป็นพิษ ก่อนนำไปรับประทานควรต้มหรือดองก่อนเพื่อกำจัดพิษ

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ผักหนาม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/BOTANIC_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1600 (30 ตุลาคม 25599)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ผักหนาม.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=240 (30 ตุลาคม 25599)

The Plant List. 2013. “Lasia spinosa (L.) Thwaites.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-108423 (15 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Lasia spinosa (L.) Thwaites.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:87418-1 (30 ตุลาคม 25599)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้