รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03349


ชื่อวิทยาศาสตร์

Leea indica (Burm.f.) Merr.

สกุล

Leea D.Royen

สปีชีส์

indica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Staphylea indica Burm. f.

Leea celebica C.B. Clarke

ชื่อไทย
กะตังใบ
ชื่อท้องถิ่น
คะนางใบ (ตราด)/ ดังหวาย (นราธิวาส)/ ตองจ้วม ตองต้อม (ภาคเหนือ)/ บังบายต้น (ตรัง)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
VITACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 1-3 ม. ลำต้นคล้ายทรงกระบอกแตกกิ่งก้าน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม

ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ผิวใบเกลี้ยง หูใบรูปไข่กลับ กว้าง 2.0-3.5 ซม. ยาว 2.5-4.5 ซม. ปลายกลม ผิวเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ก้านใบยาว 13-23 ซม. ก้านใบย่อยกลางยาว 2-5 ซม. ก้านใบย่อยด้านข้างสั้นกว่า ขนาด 0.2-0.5 ซม. แกนกลางใบยาว 14-30 ซม. แผ่นใบรูปรี รูปรียาว หรือรูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง 2.5-8.0 ซม. ยาว 6-32 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย

ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง หรือแบบช่อซี่ร่ม ออกที่ซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. มีขนสีน้ำตาล วงใบประดับรูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 0.3-0.8 ซม. ยาว 0.8 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ใบประดับรูปรีโค้งรูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 2.5-3.0 มม. ยาว 3-4 มม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ผลัดใบ ก้านดอกยาว 1-2 มม. มีขนสั้นนุ่มสีสนิม วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดรูปคนโท กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ผิวเกลี้ยง กลีบดอกรูปรี ยาว 1.8-2.5 มม. ผิวเกลี้ยง สีขาวหรือสีเขียวอมขาว หลอดเกสรเพศผู้เป็นหมันยาว 0.5-1.0 มม. มีเกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่ทรงกลม

ผล ลักษณะกลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.0 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มถึงสีม่วงดำ

เมล็ด มี 4-6 เมล็ด

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าเต็งรัง ชอบแสงแดดรำไร ใต้ร่มไม้ใหญ่ ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย พื้นที่สูง 200-1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ทวีปเอเชีย

การกระจายพันธุ์

ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล นิวกินี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย ออสเตรเลียเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-กรกฎาคม
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ลำต้น นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องร่วง รักษาโรคนิ่ว หรือแก้ไอ

ราก มีรสเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ใบ ย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง

ผล ผลสุก รับประทานได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “กะตังใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=607&name=%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A (19 พฤศจิกายน 2559)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กะตังใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=all&Itemid=59 (19 พฤศจิกายน 2559)

Flora of China. “Leea indica” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200013488 (19 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Leea indica (Burm. f.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-34000941 (19 พฤศจิกายน 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้