รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03354


ชื่อวิทยาศาสตร์

Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.

สกุล

Lepisanthes Blume

สปีชีส์

rubiginosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Sapindus rubiginosus Roxb.

ชื่อไทย
มะหวด
ชื่อท้องถิ่น
กะซ่ำ กำซำ ซำ (กลาง)/ กำจำ นำซำ (ใต้)/ ชันรู มะหวดบาทมะหวดลิง (ตะวันออกเฉียงใต้)/ มะจำ (เชียงใหม่ เหนือ) มะหวดป่า หวดคา (ตะวันออกเฉียงเหนือ)/ สีฮอกน้อย หวดลาว (เหนือ)/ หวดฆ่า (อุดรธานี)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
SAPINDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูงถึง 15 ม. เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านมีขนละเอียด

ใบ ใบประกอบแบบนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อย มี 3-6 คู่ รูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-11 ซม. ยาว 3-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว และย่นเป็นลอน ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตั้ง ที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ ยาวถึง 50 ซม. กลีบดอก 4-5 กลีบ สีขาวถึงสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปครึ่งวงกลม เกสรเพศผู้ 8 อัน

ผล สด รูปรีเว้าเป็นพู ผิวเกลี้ยง กว้าง 0.5-1.0 ซม. ยาว 1.5-2.0 ซม. ผลอ่อนสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดงจนแก่จัดสีม่วงดำ มี 2 พู ผิวเกลี้ยง เปลือกและเนื้อบาง

เมล็ด สีน้ำตาลดำ เป็นมัน มี 1 เมล็ด รูปทรงรีแกมขอบขนาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง พื้นที่สูง 300-1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - อินเดียตอนเหนือ จีนตะวันออก พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไปออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

 ราก รสเมาเบื่อสุขุม รักษาอาการไข้ ตำพอกศีรษะแก้อาการไข้ปวดศีรษะ ตำพอกรักษาผิวหนังผื่นคัน แก้พิษฝีภายใน ขับพยาธิ วัณโรค แก้พิษร้อน แก้กระษัยเส้นเอ็น ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา รากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ซาง (โรคของเด็กเล็ก มีอาการเบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า)

เปลือกต้น บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ แก้บิด สมานแผล 

ใบ แก้ไข้ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้าดื่มแก้ซาง ใบอ่อน รับประทานเป็นผักได้ ชาวบ้านใช้ใบรองพื้นและคลุมข้าวที่จะใช้ทำขนมจีนเพื่อกันบูด  

ผล บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง 

ผลสุก มีรสจืดฝาด ถึงหวาน รับประทานเป็นผลไม้ แก้ท้องร่วง 

เมล็ด รสฝาด ต้มดื่มแก้ไข้ซาง แก้ไอกรน แก้ไอหอบในเด็ก แก้ไอเรื้อรัง  บำรุงเส้นเอ็น

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “มะหวด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=266 (15 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50009183 (15 มิถุนายน 2560)

Top Tropicals. 2017. “Lepisanthes rubiginosa, Sapindus rubiginosa, Erioglossum rubiginosum .” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://toptropicals.com/catalog/uid/Lepisanthes_rubiginosa.htm (15 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Lepisanthes rubiginosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Lepisanthes+rubiginosa (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้