รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03373


ชื่อวิทยาศาสตร์

Licuala triphylla Griff.

สกุล

Licuala Wurmb

สปีชีส์

triphylla

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Licuala filiformis Hodel

Licuala pygmaea Merr.

Licuala stenophylla Hodel

Licuala ternata Griff. ex Mart.

Licuala triphylla var. integrifolia Ridl.

ชื่อไทย
กะพ้อหนู
ชื่อท้องถิ่น
กะพ้อนกแอ่น (ปัตตานี)/ ชิงหางหนู (ใต้)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซม.  ต้นเตี้ยมาก สูงเพียง 50 ซม. 

ใบ ใบรูปพัด ขอบใบจักตื้น ขอบใบไม่แตก แตกเพียง 3 ใบ แผ่นใบแผ่กว้าง 30 ซม. ก้านใบยาว 30 ซม. มีหนามที่ขอบก้าน 

ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกสมบูรณ์เพศ ออกระหว่างกาบใบ ยาว 10 ซม. 

ผล กลม ขนาด 10 ซม. สีส้มหรือแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

อยู่ในพื้นที่ป่าชื้น พื้นที่สู 700 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

คาบสมุทรมาเลย์และเกาะบอร์เนียว

การกระจายพันธุ์

บอร์เนียว มลายา สุมาตราและประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ใช้เวลา 2-4 เดือนในการงอก

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถาง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 304 น.

palmpedia. “Licuala triphylla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.palmpedia.net/wiki/Licuala_triphylla (19 มิถุนายน 2560)

photomazza. “Licuala triphylla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.photomazza.com/?Licuala-triphylla (19 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Licuala triphylla Griff.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-112283 (19 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้