รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03797


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Namwa Dang'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Namwa Dang

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยน้ำว้าด่าง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Namwa Dang
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นสั้น มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบใบที่ห่อหุ้มไว้อย่างแน่นหนา

ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ สีเขียวด่างขาว รูปขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว

ดอก ช่อดอกตั้งห้อยลง มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้ม

ผล แบบ (berry) ผลมีเนื้อหลายเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชีย ยุโรป และอเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

เนื้อของกล้วยในกลุ่มนี้จะมีแป้งมาก โดยเฉพาะผลดิบ ผลที่สุกบางชนิดรับประทานสดได้ แต่บางชนิดอาจจะฝาด จึงนิยมนำมาทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน จะทำให้รสอร่อยขึ้น

หมายเหตุ

กลุ่ม ABB เป็นกล้วยลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานีเช่นกัน แต่มีเชื้อของกล้วยป่าอยู่น้อยกว่าเชื้อของกล้วยตานี กล่าวคือ มีเชื้อของกล้วยป่าอยู่เพียง 1 ใน 3 และมีเชื้อของกล้วยตานี 2 ใน 3

แหล่งอ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “การจำแนกกลุ่มของกล้วย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-infodetail04.html (8 มิถุนายน 2560)

NanaGarden.com. 2014. “กล้วยน้ำว้าด่าง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.nanagarden.com/product/249359 (8 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้