รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04352


ชื่อวิทยาศาสตร์

Nepenthes fusca Danser

สกุล

Nepenthes L.

สปีชีส์

fusca

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
NEPENTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย มีระบบรากที่ตื้นและสั้น สามารถสูงได้หลายเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. หรืออาจหนากว่านั้น

ใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้เลื้อย มีใบเดี่ยว รูปขอบขนานถึงรูปไข่ ปลายเรียวแหลม เส้นกลางใบนูนเป็นสันแข็งด้านท้องใบ และยืดยาวออกเป็นสาย เรียกว่า มือพัน(tendril) หรือที่ผู้ปลูกเลี้ยงเรียกกันว่า สายดิ่ง ส่วนปลายพองออกเป็นกระบอกดักเหยื่อ (pitcher) ที่ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมเรียกว่า “หม้อ” มี 2 ลักษณะตามอายุของพืช คือ หม้อล่าง เกิดบริเวณปลายใบที่อยู่ใกล้กับพื้นดิน มีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก มักมีสีสันหรือลวดลาย สวยงามสะดุดตาไว้ล่อเหยื่อ ส่วนใหญ่ปากหม้อหัน เข้าหาสายดิ่ง มีบางชนิดปากหม้อหันออกจากสายดิ่ง และหม้อบน  เกิดเมื่อพืชเติบโตขึ้นจนเป็นเถาเลื้อยยาว สาย ดิ่งจะม้วนเป็นมือเกาะเพื่อหาหลักยึดพยุงลำต้น ส่วนหม้อยืดออกเป็นรูปกรวย ก้นแหลม ปากหันออกจาก สายดิ่ง และมักเปลี่ยนเป็นสีเขียวเรียบๆ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่หม้อบนยังคงความสวยงาม ส่วนหม้อข้าวหม้อแกงลิง พันธุ์ Nepenthes fusca Danser บริเวณปากหม้อเป็นสีแดงเข้ม ตัวหม้อสีเขียวอ่อนมีลายสีดำ-แดง กระจายอยู่ทั่วหม้อ คล้ายลายของปลาหางนกยูง ขึ้นเรียงเป็นแนวตั้ง ฝาปิดหม้อมีขนาดเล็ก เป็นสีเขียว

 

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดมาจาก Borneo

การกระจายพันธุ์

พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนชื้น ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ฯลฯ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสถานที่ หรือสวนต่างๆ เพื่อความสวยงาม

หมายเหตุ

จากลำต้นไปยังก้านใบที่มีลักษณะใบคล้ายกับพืชสกุลส้ม ยาวสุดสายดิ่งซึ่งบางสายพันธุ์ใช้เป็นมือจับยึดเกี่ยว แล้วจบลงที่หม้อที่เป็นใบแท้แปรสภาพมา หม้อเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ จนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอด

แหล่งอ้างอิง

พัชญ์สิตา ฐิตะเลิศวงศ, สิริภรณ์ ครวญหา, รักษา สุนินทบูรณ, และอูฐ เชาวน์ทวี. 2554. รายงานการศึกษาชนิดพันธุ์ไม้
“หม้อข้าวหม้อแกงลิง” (Nepenthes).” สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) กรมป่าไม. ชลบุรี. 47 น.

วิกิพีเดีย. 2559. หม้อข้าวหม้อแกงลิง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง (7 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Nepenthes fusca Danser.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:603709-1 (7 มิถุนายน 2560)

WIKIPEDIA. 2017. “Nepenthes fusca.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Nepenthes_fusca (7 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้