รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04380


ชื่อวิทยาศาสตร์

Nepenthes smilesii Hemsl.

สกุล

Nepenthes L.

สปีชีส์

smilesii

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
น้ำเต้าพระฤาษี
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
NEPENTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย มีระบบรากที่ตื้นและสั้น สามารถสูงได้หลายเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. หรืออาจหนากว่านั้น

ใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้เลื้อย มีใบเดี่ยว รูปขอบขนานถึงรูปไข่ ปลายเรียวแหลม เส้นกลางใบนูนเป็นสันแข็งด้านท้องใบ และยืดยาวออกเป็นสาย เรียกว่า มือพัน(tendril) หรือที่ผู้ปลูกเลี้ยงเรียกกันว่า สายดิ่ง ส่วนปลายพองออกเป็นกระบอกดักเหยื่อ (pitcher) ที่ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมเรียกว่า “หม้อ” มี 2 ลักษณะตามอายุของพืช คือ หม้อล่าง เกิดบริเวณปลายใบที่อยู่ใกล้กับพื้นดิน มีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก มักมีสีสันหรือลวดลาย สวยงามสะดุดตาไว้ล่อเหยื่อ ส่วนใหญ่ปากหม้อหัน เข้าหาสายดิ่ง มีบางชนิดปากหม้อหันออกจากสายดิ่ง และหม้อบน  เกิดเมื่อพืชเติบโตขึ้นจนเป็นเถาเลื้อยยาว สาย ดิ่งจะม้วนเป็นมือเกาะเพื่อหาหลักยึดพยุงลำต้น ส่วนหม้อยืดออกเป็นรูปกรวย ก้นแหลม ปากหันออกจาก สายดิ่ง และมักเปลี่ยนเป็นสีเขียวเรียบๆ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่หม้อบนยังคงความสวยงาม ส่วนหม้อข้าวหม้อแกงลิง พันธุ์ Nepenthes smilesii Hemsl. บริเวณปากหม้อเป็นสีเขียวอ่อน ขอบปากด้านในสีน้ำตาลเล็กน้อย ตัวหม้อมีสีเขียวอ่อน มีลายสีแดงอมม่วงประปรายอยู่ทั่วตัวหม้อ ฝาปิดหม้อมีสีคล้ายตัวหม้อ

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดมาจาก กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนชื้น ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ฯลฯ

การปลูกและการขยายพันธุ์

พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนชื้น ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ฯลฯ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกประดับยังสถานที่ต่าง ๆ

หมายเหตุ

จากลำต้นไปยังก้านใบที่มีลักษณะใบคล้ายกับพืชสกุลส้ม ยาวสุดสายดิ่งซึ่งบางสายพันธุ์ใช้เป็นมือจับยึดเกี่ยว แล้วจบลงที่หม้อที่เป็นใบแท้แปรสภาพมา หม้อเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ จนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอด

แหล่งอ้างอิง

พัชญ์สิตา ฐิตะเลิศวงศ, สิริภรณ์ ครวญหา, รักษา สุนินทบูรณ, และอูฐ เชาวน์ทวี. 2554. รายงานการศึกษาชนิดพันธุ์ไม้
“หม้อข้าวหม้อแกงลิง” (Nepenthes).” สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) กรมป่าไม. ชลบุรี. 47 น. 

วิกิพีเดีย. 2559. หม้อข้าวหม้อแกงลิง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง (8 มิถุนายน 2560)

WIKIPEDIA. 2017. “Nepenthes smilesii.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Nepenthes_smilesii (8 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้