รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04397


ชื่อวิทยาศาสตร์

Nephelium lappaceum L. 'Rongrian'

สกุล

Nephelium L.

สปีชีส์

lappaceum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Dimocarpus crinitus Lour.

Euphoria crinita Poir.

Euphoria nephelium Poir.

Euphoria nephelium DC.

Euphoria ramb-outan Labill.

ชื่อไทย
เงาะพันธุ์โรงเรียน
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
SAPINDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 15-25 ม. ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอมน้ำตาลเข้ม กิ่งเล็กกลมสีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีรอยเหี่ยวละเอียด ทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลมแผ่ออกกว้าง

ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อย 2-4 คู่ ก้านใบระหว่างใบย่อยมีขนาดใหญ่ กลม สีน้ำตาลอมแดง ฐานก้านใบหนา รูปร่างใบเป็นรูปโล่ยาวหรือรูปไข่หัวกลับ ขอบใบเรียบสีเขียวอมเหลืองหรือสีนวล เส้นกลางใบขนาดใหญ่ ใต้ใบจะมีคลื่นเล็กน้อย

ดอก มี 2 ลักษณะ คือ ช่อดอกตัวผู้ เป็นดอกเงาะที่มีดอกตัวผู้ทั้งช่อดอก และอีกลักษณะ คือ ดอกสมบูรณ์เพศ หรือที่เรียกว่า ดอกกระเทย เป็นดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน / ผล : รวมกันอยู่เป็นช่อ ติดอยู่บนก้านช่อดอก ผลค่อนข้างกลม สีแดง บางพันธุ์สีแดงปนเหลือง ขนาดของผลยาวประมาณ 3.5-8.0 ซม. กว้างประมาณ 2-5 ซม. ขนสั้นยาวขึ้นกับชนิดพันธุ์ แต่โดยทั่วไปยาวเฉลี่ย 0.5-1.8 ซม. เนื้อในใส อ่อนนุ่ม หรือเป็นสีขาวอมเหลือง ห่อหุ้มเมล็ดอยู่

ผล เปลือกหนา และมีขนยาว ผลขณะดิบจะมีเปลือกสีเหลืองอมชมพู และขนมีสีเขียวอ่อน แต่เมื่อผลสุก เปลือกจะมีสีแดงเข้ม ส่วนขนส่วนโคนจะมีสีแดงเช่นกัน แต่ส่วนปลายขนจะมีสีเขียวอ่อน ส่วนเนื้อมีสีขาวนวล และเนื้อหนา แยกออกจากเมล็ดได้ง่าย ให้รสหวานจัด 

เมล็ด ส่วนเมล็ดมีลักษณะรี

ราก มีระบบรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ในประเทศไทยนิยมปลูกกันมากในภาคใต้

ถิ่นกำเนิด

เงาะมีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก  จีน ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, การตอน, การทาบกิ่ง, การติดตา

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

อาหาร,สมุนไพร

-ผลแก่ นำมารับประทานสด มีรสหวาน อร่อย

-สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้

-เนื้อไม้ สามารถนำไปเผาไฟเพื่อทำเป็นถ่านได้

-สามารถปลูกเป็นพืชเพื่อให้ร่มเงาได้

-เป็นพืชเศรษฐกิจของทางจันทบุรี

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “เงาะ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://natres.psu.ac.th/researchcenter/tropicalfruit/fruit/rambutan.htm (14 มิถุนายน 2560)

ภูมิปัญญาท้องถิ่นสุราษฎร์ธานี. “เงาะโรงเรียน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://suratthani.freevar.com/Negrito.html (14 มิถุนายน 2560)

วิกิพีเดีย. “เงาะ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0 (14 มิถุนายน 2560)

Puechkaset.com. “เงาะโรงเรียน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://puechkaset.com/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0/ (14 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Nephelium lappaceum L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2382804 (14 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants Database. 2014. “Nephelium lappaceum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=nephelium+lappaceum (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้