รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04473


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ocimum americanum L.

สกุล

Ocimum L.

สปีชีส์

americanum 

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Becium obovatum var. glabrior (Benth.) Cufod.

Ocimum album Roxb.

Ocimum americanum var. americanum

Ocimum brachiatum Blume

Ocimum canum Sims

ชื่อไทย
แมงลัก
ชื่อท้องถิ่น
กอมก้อข้าว (ภาคเหนือ)/ มังลัก (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
Hairy Basil
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น  ไม้ล้มลุกอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูง 0.3-1.0 ม. ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมเหลือง เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสีขาวหนาแน่น

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม เป็นรูปหอกถึงวงรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ มีต่อมมันทั่วไป ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 ซม.

ดอก ดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 15 ซม. ประกอบด้วยช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกๆ ละ 3 ดอก ข้อละ 2 กระจุก ใบประดับรูปวงรีแกมใบหอก ยาว 2-3 มม.มีขน ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 4 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 พู กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว 4-6 มม. มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน เกสรตัวเมียมีไข่ 4 อัน รังไข่เว้าเป็น 4 พู 

เมล็ด ผลแห้งประกอบด้วยผลย่อย 4 ผล มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ผลย่อยทรงรูปไข่ สีดำ กว้าง 1 มม. ยาว 1.25 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มมีภูมิทัศน์ที่มีแสงแดด อยู่ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยปกติจะอยู่ที่ 500 เมตร แต่บางครั้งอาจถึง 2,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา อนุทวีปอินเดีย ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

การกระจายพันธุ์

แอฟริกาเขตร้อน 

เอเชียตะวันออก - จีน อนุทวีปอินเดีย พม่า มาเลเซีย ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชวัสดุ

 - เมล็ด ใช้เป็นยาระบาย  เมล็ดแมงลักช่วยการขับถ่ายเพราะเปลือกด้านนอกสามารถพองตัวได้ถึง 45 เท่า โดยไม่ถูกย่อย ทำให้เพิ่มกากและช่วยหล่อลื่น ทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น

 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “แมงลัก.” [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา http://medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/ocimbas.html (19 มิถุนายน 2560)

อภิชาต ศรีสะอาด. 2551. สมุนไพรไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช & พรรณไม้พิษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท นาคาอิเตอร์มีเดีย จำกัด. 116 น.

The Plant List. 2013. “Ocimum americanum L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-136802 (19 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Ocimum americanum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Ocimum+americanum (19 มิถุนายน 2560)

wikipedia. “Ocimum americanum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Ocimum_americanum (19 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้