รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00466


ชื่อวิทยาศาสตร์

Anthurium 'Black Beauty'

สกุล

Anthurium Schott

สปีชีส์

-

Variety

Black Beauty

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
หน้าวัวแบล็คบิวตี้
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ARACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น พืชอายุหลายปีไม่มีเนื้อไม้ เป็นพืชเขตร้อนลำต้นตรง

ใบ ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบจะเรียงเป็นเกลียวรอบต้น ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเป็นคลื่น ใบรูปหัวใจ

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงตัวกันแน่นบนช่อดอกที่เรียกว่า ปลี (Spadix) และมีจานรองดอก (spathe) สีม่วงเข้ม รูปรี

ผล มีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม แต่ละผลมีเพียง1 เมล็ดหรือหลายเมล็ด รูปรี รูปขอบขนานหรือรูปกลม

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบร้อนหรือร้อนชื้น (15 - 30 องศาเซลเซียส) เมื่อได้รับแสงแดดมากเกินไป อาจทำให้ใบไหม้

ถิ่นกำเนิด

สกุล Anthurium มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ซึ่งกระจายจากภาคเหนือของเม็กซิโก ไปยังตอนเหนือของอาร์เจนตินา และบางส่วนของทะเลแคริบเบียน

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตัดชำยอด ตัดหน่อ ปักชำต้นตอ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับตกแต่งภายในบ้านเรือน เพื่อบดบังมุมที่ดูไม่สวยงาม อับทึบ หรือปลูกประดับตกแต่งสวนในรูปแบบต่าง ๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “หน้าวัวใบ ไม้ใบสวย เลี้ยงง่าย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/blogs/foliage-anthurium/ (25 มิถุนายน 2560)

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน | สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2558. “หน้าวัว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/105 (25 มิถุนายน 2560)

wikipedia. “Anthurium.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Anthurium (25 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้