รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05712


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tradescantia spathacea Sw.

สกุล

Tradescantia

สปีชีส์

Tradescantia spathacea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Ephemerum bicolor Moench

ชื่อไทย
ว่านหอยแครงแคระ
ชื่อท้องถิ่น
กาบหอยแครง(กทม.)
ชื่อสามัญ
Oyster plant/ White flowered tradescantia
ชื่อวงศ์
COMMELINACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุกสูงไม่เกิน 20-30 ซม. ลำต้นอวบ ทรงพุ่มเตี้ย แตกกอแน่นบริเวณโคน

ใบ ใบเดี่ยว ออกรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก  ปลายแหลม โคนตัดและโอบลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีม่วงแดง เส้นใบขนาน เห็นไม่ชัด ไม่มีก้านใบ

ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบมีทั้งช่อเดี่ยวและหลายช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยกลีบประดับที่เป็นกาบ 2 กาบ สีม่วงแซมเขียว รูปหัวใจโค้ง กว้าง 3-6 ซม. ยาว 3-4 ซม. โคนกาบทั้งสองประกบกันเกยซ้อนและโอบหุ้มดอกสีขาวขนาดเล็กที่อยู่รวมกันเป็นกระจุก ก้านช่อดอกยาว 1-5 ซม. โคนก้านช่อดอกมีใบประดับ 1 ใบ สีม่วงแซมเขียว ก้านดอกยาว 1.0-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีสีม่วงอ่อนเป็นเยื่อบางรูปไข่ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบสีขาวบางใส รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 3-6 มม. กลีบดอก 3 กลีบสีขาวแผ่นหนา รูปไข่ กว้าง 4-6 มม. 5-8 มม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว รูปเรียว มีขนยาว ปลายก้านแผ่แบนสีเหลือง อับเรณูสีแดง เกสรเพศเมีย 1 อัน สีขาว ไม่มีก้าน

ผล ผลเป็นผลเดี่ยว ผลสดมีสีเขียวอ่อน รูปรี กว้าง 2.5-3.0 มิลลิเมตร ยาว 3.5 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 ซีก

เมล็ด เมล็ดขนาดเล็ก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

มักขึ้นตามที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ต้องการความชื้นปานกลาง ว่านชนิดนี้ปลูกได้ดีและมีสีสวยในพื้นที่ที่มีแดดส่องถึงเพียงครึ่งวัน  หากปลูกในบริเวณพื้นที่ที่มีแดดส่องทั้งวันจะส่งผลให้ความเข้มของสีใบลดลง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในกัวเตมาลา เบลีซ อ่าวเม็กซิโก เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้ และเม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ 

การกระจายพันธุ์

บังคลาเทศ เบอร์มิวดา จาเมกา เกาหลี จีน เอกวาดอร์ ฟิจิ รัฐฟลอริด้า 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ แยกกอ

ระยะเวลาการติดดอก
ไม่ค่อยออกดอก
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

-ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้คลุมดิน

-มีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น

ใบ ช่วยดับกระหาย แก้อาการร้อนใน แก้ไอ แก้อาการอาเจียนเป็นโลหิตหรืออาการฟกช้ำภายในเนื่องจากโดนแรงกระแทกหรือพลัดตกจากที่สูง สามารถช่วยแก้โรคบิด แก้อาการถ่ายเป็นเลือดหรือปัสสาวะเป็นเลือดได้

ดอก ดอกของว่านกาบหอยมีรสชุ่มเย็นเป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมาต้มกับเนื้อหมูรับประทาน เพื่อขับเสมหะ แก้อาการไอแห้งๆ แก้อาเจียนหรือไอเป็นโลหิต ห้ามเลือดกำเดา แก้ปัสสาวะเป็นเลือดและแก้บิดถ่ายเป็นเลือดได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

จารีย์ บันสิทธิ์. 2538. กาบหอย-ว่าน. น. 263. อ้างโดย ราชบัณทิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก . เพื่อนพิมพ์ จำกัด. 495 น.

Thaiherbal.org. 2558. “กาบหอยแครง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/190 (11 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Tradescantia spathacea Sw.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-270451 (24 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Tradescantia spathacea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:173471-1 (11 ตุลาคม 2559)

WIKIPEDIA. 2016. “Tradescantia spathacea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Tradescantia_spathacea (24 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้