รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05974


ชื่อวิทยาศาสตร์

Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. 

สกุล

Zingiber Mill.

สปีชีส์

montanum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Amomum cassumunar (Roxb.) Donn

Amomum montanum J.Koenig

Amomum xanthorhiza Roxb. ex Steud.

Cassumunar roxburghii Colla

Jaegera montana (J.Koenig) Giseke

Zingiber anthorrhiza Horan.

Zingiber cassumunar Roxb.

ชื่อไทย
ไพล
ชื่อท้องถิ่น
ว่านไฟ (ภาคกลาง)/ ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ)/ มิ้นสะล่าง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุก 0.7-1.5 ม. มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม.

ดอก ช่อดอกแทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับมีสีม่วง

ผล ผลแห้ง และมีลักษณะกลม

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ในป่า บริเวณที่มีดินค่อนข้างสมบูรณ์  มีสารอินทรีย์ในที่ค่อนข้างร่มรำไร ไปถึงพื้นที่โล่งแจ้ง ตามชายป่า บริเวณที่ค่อนข้างแห้งในป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ในระดับพื้นล่างถึงป่าดิบเขาสูง 1300 ม. เหนือจากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

เกาะบอร์เนียว กัมพูชา คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน เฮติ เลสเซอร์ มลายา ฟิลิปปินส์ เปอร์โตริโก ศรีลังกา ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าปลูก

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชวัสดุ

-เหง้า เป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ ยาภายนอกใช้เหง้าฝนทาแก้เคดขัดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล นอกจากนี้เหง้าสดของไพลยังสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นสารดึงดูดแมลง และยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ด้วย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2554. “ไพล.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=96 (24 ตุลาคม 2559)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ไพล.” [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=828 (24 ตุลาคม 2559)

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.

อภิชาต ศรีสะอาด. 2551. สมุนไพรไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช & พรรณไม้พิษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท นาคาอิเตอร์มีเดีย จำกัด. 116 น.

The Plant List. 2013. “Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-273343 (7 ธันวาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Zingiber montanum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:798367-1 (6 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้