รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06217


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus lacor Buch.-Ham.

สกุล
Ficus
สปีชีส์
Ficus lacor
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Ficus aegeirophylla (Miq.) Miq.

ชื่อไทย
ผักเฮือด
ชื่อท้องถิ่น
ว้ายุ(ม้ง-เชียงใหม่)/ผักเลือดลาว(เชียงใหม่)/ผักฮี ผักเฮือด(เชียงใหม่)/
ชื่อสามัญ
Gray fig/ White fig
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้อิงอาศัยเมื่ออายุน้อย แผ่กิ่งก้านสาขาพันต้นไม้อื่น มีรากอากาศห้อยย้อยลงมา

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียน ก้านใบ ยาว 2.5-7.0 ซม. แผนใบรูปใบหอกยาว กว้าง 2.-7.0 ซม. ยาว 9-22 ซม. โคนใบมนเล็กน้อยหรือสอบแคบเล็กน้อย ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบอ่อนนถ่มสีเขียวอ่อน สีชมพู สีแดงเข้มถึงแดงอมน้ำตาล  ใบแก่บาง เหนียว สีเขียว 

ดอก ดอกออกในโครงสร้างของผลเดี่ยวหรือคู่ ตามช่วงล่างของกิ่งหรือตามซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย

ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-1.2 ซม. มีทั้งสีเขียว สีขาวหม่น สีชมพู เมื่อผลสุกสีแดงเข้มถึงม่วง ผิวฉ่ำน้ำ มีกาบใบเลี้ยงรองที่โคน

สภาพนิเวศ
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าพื้นที่ล่างถึงป่าดิบเขา ขึ้นตามหินในแหล่งน้ำใกล้แหล่งน้ำ ถึงที่ค่นข้างแห้งแล้ง ในระดับต่ำถึง 1,500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด
การกระจายพันธุ์

อินเดีย ศรีลังกา พม่า มาเลเซีย จีนตอนใต้ ประเทศในคาบสมุทรอินโด

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตอนกิ่งและชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์

ยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร ผักเคียง

หมายเหตุ
แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. อมรินทร์พริ้นติ้ง   แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.752 น.

Flora of China. “Ficus lacor” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org (17 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Ficus lacor Buch.-Ham.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org (17 พฤศจิกายน 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้