รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06385


ชื่อวิทยาศาสตร์

Kaempferia galanga L.

สกุล

Kaempferia

สปีชีส์

Kaempferia galanga

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Alpinia sessilis J.Koenig

Kaempferia humilis Salisb.

ชื่อไทย
เปราะหอม
ชื่อท้องถิ่น
ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ), หอมเปราะ (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
Chengkur
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น มีเหง้าสีเขียวอ่อน หรือสีเขียวออกขาว มีกลิ่นหอม

ใบ ใบมักจะมี 2 ใบ แผ่แบนราบบนพื้นดิน ไม่มีก้านใบ กาบใบ ยาว 1-3 ซม. แผ่นใบสีเขียว รูปวงกลม กว้าง 3-17 ซม. ยาว 7-20 ซม. ผิวใบเกลี้ยง ขอบใบมักจะมีสีขาว  ปลายเป็นติ่งหนามหรือแหลม

ดอก ออกเป็นช่อจากลำต้นเทียม ล้อมรอบด้วยกาบใบที่ซ้อนกัน  ใบประดับรูปใบหอกยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงยาวเท่ากับใบประดับ กลีบดอกเป็นหยอดยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกสีขาวรูปแถบ กลีบด้านข้างรูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม ขนาดประมาณ 1.2 ซม. กลีบปาก กว้าง 2 ซม. ยาว 2.5 ซม. ปลายเว้าเล็กน้อย 2 หยัก มีสีขาว และบริเวณโคนมีสีม่วง เกสรเพศผู้ไม่มีก้าน อับเรณูโค้งพับลง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา อินเดีย 

การกระจายพันธุ์

ปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉันงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหัว

ระยะเวลาการติดดอก
สิงหาคม-กันยายน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร
หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “เปราะหอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=เปราะหอม&keyback=เปราะหอม (25 พฤศจิกายน 2559)

Flora of China. “Kaempferia galanga.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200028415(25 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Kaempferia galanga L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-250781 (25 พฤศจิกายน 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้