รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00688


ชื่อวิทยาศาสตร์

Begonia sp.

สกุล

Begonia L.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
บีโกเนียหูช้าง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
BEGONIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลักษณะเป็นไม้ต้นเตี้ย

ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปร่าง สีสันต่างกันในแต่ละพันธ์ุ ใบมีลักษณะเบี้ยว คือแผ่นใบทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ใบเกิดเวียนรอบต้น

ดอก ช่อดอกออกตามซอกใบ ช่อดอกเพศผู้แยกจากช่อดอกเพศเมีย แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียมีรังไข่ที่โป่งออกเป็นปีกสามแฉกที่โคนดอก

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในดินชุ่มชื้น และระบายได้ดี

ถิ่นกำเนิด

สกุล Begonia มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้น ที่มีภูมิอากาศเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ส่วนใหญ่สามารถปลูกกลางแจ้ง หรือในกระถาง 

หมายเหตุ

บีโกเนียแบ่งออกเป็น 3 ชนิด โดยอาศัยรูปร่างของรากหรือลำต้นเป็นหลักดังนี้ คือ
1. บีโกเนียชนิดที่มีรากฝอย (Fibrous-rooted begonia) มีใบสีเขียวและสีน้ำตาลเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งสีขาว สีชมพู สีแดงและสองสี เช่นขาวขอบแดง
2. บีโกเนียชนิดที่มีเหง้า (Rhizomatous begonia) ส่วนมากเป็นบีโกเนียที่ปลูกประดับใบ ใบมีสีสวย มีหลายแบบ เช่น รูปใบกลม รูปหัวใจ มีกลีบดอกชั้นเดียว
3. บีโกเนียชนิดที่มีหัว (Tuberous begonia) ดอกมีขนาดใหญ่ มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน

แหล่งอ้างอิง

พิมลพรรณ มุธุสิทธ์ และ สุจิตร อุตรมาตย์. 2542. พรรณไม้จากจังหวัดอุบลราชธานี (Plant Species from Ubon Ratchathani Province). ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. 62 น.

wikipedia. “Begonia.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Begonia (28 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้