รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01047


ชื่อวิทยาศาสตร์

Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.

สกุล

Gnetum gnemon L.

สปีชีส์

gnemon

Variety

tenerum

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ผักกะเหรี่ยง
ชื่อท้องถิ่น
เขลียง เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช)/ ผักเมี่ยง เหมียง (พังงา)
ชื่อสามัญ
Baegu
ชื่อวงศ์
GNETACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ซม. เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ใบ มีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรี กว้าง 4-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน

ดอก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3-4 ซม. ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5-8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7-10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย

ผล มีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1.0-1.5 ซม. มีความยาว ประมาณ 2.5-4.0 ซม. ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน

เมล็ด 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น พื้นที่สูง 50-200 ม. จากระดัยทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียบริเวณคาบสมุทรมาลายู

การกระจายพันธุ์

ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

ใบ มีสรรพคุณในการบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา ใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ผักเมี่ยง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1088 (14 กันยายน 2560)

puechkaset. “ผักเหลียง (Baegu) สรรพคุณ และการปลูกผักเหลียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/ผักเหลียง/ (14 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้