รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01057


ชื่อวิทยาศาสตร์

Camellia sinensis (L.) Kuntze 'U-long No.12'

สกุล

Camellia L.

สปีชีส์

sinensis

Variety

U-long No.12

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Camellia arborescens Hung T. Chang & F.L. Yu

Camellia bohea (L.) Sweet

Camellia chinensis (Sims) Kuntze

ชื่อไทย
ชาอู่หลง เบอร์ 12
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Cha U-long No.12
ชื่อวงศ์
THEACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: สูงได้ถึง 17 เมตร ในการเพาะปลูกมักจะเก็บไว้ต่ำกว่า 2 เมตรโดยการตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เปลือกในสีชมพูแดง

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักเล็กๆ หรือเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 ซม. และยาวประมาณ 6-12 ซม. หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและเหนียว เรียบเป็นมัน คล้ายใบข่อยแต่จะยาวและใหญ่กว่า เส้นใบเป็นตาข่าย ส่วนก้านใบสั้น

ดอก  ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกส้มเขียวหวาน โดยดอกชาจะมีลักษณะใหญ่สีสวย ดอกเป็นสีขาวนวล และมีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 1-4 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกจำนวนมาก

ผล เป็นผลแบบแคปซูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 ซม. เมื่อแก่จะแตกออก ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน หรือค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหรือสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-14 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบ ทางภาคเหนือ ที่ความสูง 500-1,500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

มีอินทรียวัตถุในดินสูง ระบายน้ำได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย

ถิ่นกำเนิด

ประเทศจีน

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา จีน อินเดีย ลาว พม่า ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ใบ นำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้น ทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วง และยังมีฤทธิ์ฝาดสมานใช้รักษาอาการท้องร่วง ร้อนในกระหายน้ำ และรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น นอกจากนี้ใบยังใช้ใส่ลงโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพ

ใบอ่อน จะมีรสฝาด หอม หวาน ใช้ยำกินอร่อยมาก นอกจากนี้แล้ว ยังนำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา

กากเมล็ด จะมีสารชาโปนีน (saponin) มีคุณสมบัติล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมล้างสิ่งสกปรกออกจากผม นอกจากนั้นแล้วน้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย

กิ่งและใบ นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการพิษของยาอันตรายที่เป็นแอลกอฮอล์ต่าง ๆ และยังใช้ทำน้ำยาสมานของกรดแทนนิค ใส่แผลไหม้พอง

หมายเหตุ

ชาอู่หลง เป็น ชา ประเภทกึ่งหมัก หรือผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ ด้วยการผึ่งแห้งใบชาด้วยแสงอาทิตย์เพื่อให้ใบชาคายน้ำ หลังจากนั้นทำไปผึ่งในที่ร่มภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ขั้นตอนนี้ถือเป็นการหมักบางส่วน เพื่อให้เกิดปฏิกริยาที่เรียกว่า ออกซิเดชัน (Oxidation) ทำให้เอนไซม์พอลิฟีนอล (Pholyphenols) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบที่มีประโยชน์อย่างมากในใบชา เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดการรวมตัวของสารชนิดใหม่ที่เรียกว่า สารคาเทชิน(Catechin) อันเป็นสารที่ทสร้างเอกลักษณ์ให้ชาอู่หลง ไม่ว่าจะเป็น สีชาอู่หลง กลิ่นชาอู่หลง และรสชาติชาอู่หลง ซึ่งแตกต่างไปจากชาเขียว (Green Tea) และชาดำ (Black Tea) หลังจากกระบวนการหมักเสร็จสิ้น จึงนำใบชาอู่หลงไปคั่ว ตามด้วยการนวดใบชาอู่หลง เพื่อขึ้นรูปใบชาอู่หลงเป็นรูปลักษณะเม็ดกลม 

แหล่งอ้างอิง

สมุนไพร ดอทคอม. 2559. “ชา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.samunpri.com/ชา/ (22 กรกฎาคม 2560)

The Highland Tea. 2014. “ชาอู่หลง (Oolong; Wulong).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thehighlandtea.com/ชาอู่หลง/ (22 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. Camellia sinensis (L.) Kuntze.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2694880 (22 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Camellia sinensis (L.) Kuntze.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:828548-1 (22 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้