รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01078


ชื่อวิทยาศาสตร์

Carallia brachiata (Lour.) Merr.

สกุล

Carallia Roxb.

สปีชีส์

brachiata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Barraldeia madagascariensis Spreng.

Barraldeia madagascariensis DC.

Carallia arguta Koord. & Valeton

Carallia baraldeia Arn.

Carallia calycina Benth.

ชื่อไทย
เฉียงพร้านางแอ, เขียงพร้า
ชื่อท้องถิ่น
โองนั่ง (อุตรดิตถ์)/ สีฟันนางแอ (ภาคเหนือ)/ หมักมัง (ปราจีนบุรี)/กวางล่าม้า (ชอง-ตราด)/ กูมุย (เขมร-สุรินทร์)/ แก็ก องคต วงคต (ลำปาง)/ ขิงพร้า, เขียงพร้า (ประจวบคีรีขันธ์, ตราด)/ เขียงพร้านางแอ (ชุมพร)/ คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้)/ เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์)/ เฉียงพร้านางแอ ต่อใส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง)/ นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่)/ บงคด (แพร่)/ บงมัง (ปราจีนบุรี, อุดรธานี)/ ม่วงมัง (ปราจีนบุรี)/ ร่มคมขวาน (กรุงเทพฯ)/
ชื่อสามัญ
Freshwater mangrove tree
ชื่อวงศ์
RHIZOPHORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25-30 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดทรงพุ่มรูปกรวยกว้างทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมแดงถึงน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ มีรูอากาศมาก หรืออาจพบเปลือกต้นหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว อาจพบลักษณะคล้ายรากค้ำจุนแบบ prop root เป็นเส้นยาว หรือออกเป็นกระจุกตามลำต้น หรือส่วนโคนต้น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม.  ยาว 7-10 ซม. หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมันหนา ท้องใบสีอ่อนกว่า และมีจุดสีดำกระจาย ปลายใบมนมีติ่งเล็ก ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น มีหูใบหุ้มยอดอ่อน เมื่อร่วงจะเห็นรอยแผล บริเวณข้อพองเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง หนาและเหนียว ก้านใบยาว 0.4-1 ซม.

ดอก ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง แตกแขนงเป็น 4 กิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก มักเรียงตัวแน่นเป็นช่อกลม ไม่มีก้านดอกย่อย กลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกขนาดเล็ก รูปร่างเป็นแผ่นกลม สีเขียวอมเหลือง เกสรเพศผู้มี 10-16 อัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง รูปร่างเกือบเป็นแผ่นตรง

ผลและเมล็ด ผลสดแบบมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. มีกลีบเลี้ยงด้านบน คล้ายมงกุฎ ผิวผลเป็นมัน มีเนื้อบางสีเขียวห่อหุ้ม  ผลแก่สีส้มปนแดง 

เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีเยื่อหนาสีส้ม รับประทานได้

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าพรุ และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

พบที่มาดากัสการ์ อินเดีย ภูฏาน ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลียตอนบน และหมู่เกาะแปซิฟิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ลำต้น ฝนน้ำกินแก้ไข้ ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกาย เป็นยาเจริญอาหารสำหรับสตรีหลังคลอด ผสมลำต้นแคด เปลือกต้นตับเต่าต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง เปลือกต้น รสฝาดเย็น แก้ไข้  แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะ และโลหิต ปิดธาตุ สมานแผล แก้บิด แก้พิษผิดสำแดง ต้น แก้ไข้ บำรุงร่างกาย และช่วยเจริญอาหาร

ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “เฉียงพร้านางแอ.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=218 (15 กันยายน 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เฉียงพร้านางแอ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=72 (15 กันยายน 2560)

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เฉียงพร้านางแอ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=เฉียงพร้านางแอ&genus=Carallia&species=brachiata&author=(Lour.)%20Merr. (15 กันยายน 2560)

National Parks Board. 2013. “Carallia brachiata (Lour.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=2781 (15 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้