รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01098


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia javanica L.

สกุล

Cassia L.

สปีชีส์

javanica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cassia javanica var. javanica

Cassia bacillus Gaertn.

Cassia bacillus Roxb.

Cassia fistula "sensu Blanco, non Merr."

Cassia megalantha Decne.

Cathartocarpus javanicus Pers.

ชื่อไทย
ชัยพฤกษ์
ชื่อท้องถิ่น
3
ชื่อสามัญ
Pink and white shower / Javanese Cassia / Rainbow Shower
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 15-25 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 6-8 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่ม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ต้นเล็กจะมีหนาม ต้นใหญ่จะมีรอยแผลปมหนามตามแนวขวาง 

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 15-30 เซนติเมตร ใบย่อย 7-12 คู่ เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 1.5-2  เซนติเมตร ยาว 3.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสด เกลี้ยง ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนละเอียด ก้านใบยาว 1.5-4 เซนติเมตร ก้านใบย่อยสั้นมาก 

ดอก ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกใหญ่และแข็ง ไม่แตกแขนง  ช่อดอกตั้ง ยาว 5-16 ซม. ดอกย่อยรูปดอกหางนกยูงจำนวนมาก ดอกย่อยมีก้านดอกเรียว ยาว 3-5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 7-10 มม. สีแดงเข้มถึงสีแดงอมน้ำตาล กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 7-8 มม. ยาว 25-35 มม. โคนคอดเป็นก้าน ยาวราว 3 มม. ดอกเมื่อเริ่มบานสีชมพูและเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีขาว เกสรเพศผู้ 9-10 อัน สีเหลือง 3 อัน มีลักษณะยาวโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 2.5-3.5 ซม. รังไข่เรียว มีขนคลุมบางๆ 

ผล ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะฝักทรงกระบอก ผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีขน กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 30-60 ซม. ฝักอ่อนสีน้ำตาล เมื่อสุกสีดำ 

เมล็ด เมล็ดกลมแบน สีน้ำตาลเป็นมัน จำนวน 40-50 เมล็ดต่อฝัก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ที่โล่งในป่าผลัดใบ 

ถิ่นกำเนิด

อินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์

จีน กัมพูชา อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ตำรายาไทย ฝัก มีรสหวานเอียน ใช้ถ่ายเสมหะ แก้พรรดึก (ท้องผูก) ระบายพิษไข้ เป็นยาระบายที่ไม่ทำให้ปวดมวนในท้องหรือไซ้ท้อง ใช้ได้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แก้ตานขโมย ใช้พอกแก้ปวดข้อ และสรรพคุณของยาไทยโบราณกล่าวว่า ส่วนอื่นๆเสมอด้วยสรรพคุณของต้นคูน 

เนื้อในฝัก เป็นยาระบายอ่อนๆ   

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. “ชัยพฤกษ์.” [ระบบออนไลน์]. http://www.dnp.go.th/EPAC/9/03chaipeag.htm (22 มิถุนายน 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ชัยพฤกษ์.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=220 (22 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Cassia javanica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1054 (22 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2014. “Cassia javanica.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Cassia+javanica (22 มิถุนายน 2560)

Wikipedia. 2017. “Cassia javanica.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Cassia_javanica#Description (22 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้