รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01124


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre

สกุล

Tamilnadia Tirveng. & Sastre

สปีชีส์

uliginosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Catunaregam uliginosa (Retz.) Sivar.

Gardenia uliginosa Retz.

Posoqueria uliginosa (Retz.) Roxb.

Randia uliginosa (Retz.) Poir.

Solena uliginosa (Retz.) D.Dietr.

Xeromphis uliginosa (Retz.) Maheshw.

ชื่อไทย
ตะลุมพุก
ชื่อท้องถิ่น
กระลำพุก มะคังขาว (ภากลาง ราชบุรี)/ มอกน้ำขาว มะข้าว (ภาคเหนือ)/ มะคัง (อุตรดิตถ์)/ ลุมปุ๊ (สุรินทร์)/ ลุมปุ๊ก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ ลุมพุก (ลพบุรี)
ชื่อสามัญ
Divine Jasmine/ Tamilnadia
ชื่อวงศ์
RUBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 10 ม. เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้สีขาวปนน้ำตาลอ่อน ละเอียด สม่ำเสมอมาก กิ่งเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ปลายกิ่งเป็นกระจุกมีหนาม 2-4 อัน หนามยาว 0.5-1.5 ซม. หูใบร่วมรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก

ใบ ใบเรียงตรงข้ามเป็นกระจุกสั้น ๆ ส่วนมากรูปไข่กลับ ยาว 3-22 ซม. โคนเรียวสอบจรดก้านใบ ก้านใบยาวได้ถึง 2 ซม.

ดอก ช่อดอกออกตามซอกใบ ลดรูปมีดอกเดียว ดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกเพศเมียขนาดใหญ่ เกือบไร้ก้าน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก ก้านยาวได้ถึง 2 ซม. ดอกสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-8 แฉก กลม ๆ ขนาดเล็ก ติดทนดอกบิดเวียนรูปวงล้อ หลอดกลีบดอกสั้นมาก ปากหลอดเกลี้ยงหรือมีขนหนาแน่น มี 5-8 กลีบ เกสรเพศผู้ติดที่ปากหลอดกลีบระหว่างกลีบดอก อับเรณูไร้ก้านกางออก ยาว 0.8-1 ซม. รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียสั้น หนา ยอดเกสรเพศเมียรูปกระบอง แยก 2 แฉก ยาว 0.8 -1 ซม.

ผล ผลรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 5-9 ซม. ผนังผลหนา เนื้อนุ่ม เมล็ดจำนวนมาก ผลของดอกเล็กมีขนาดประมาณกึ่งหนึ่ง เมล็ดรูปทรงกลมจำนวนมาก เมล็ดมักฝ่อ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

กระจายห่าง ๆ ในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ความสูง 100-500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย ศรีลังกา ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ 

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด 

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

รากและแก่น ต้มน้ำดื่ม เข้ายาแก้ปวดเมื่อย ช่วยบำรุงเลือด แก่น ผสมแก่นมะคังแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง

ผลและราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด

ในอินเดีย ผลอ่อน ต้มหรือเผากินเป็นผัก น้ำคั้นจากใบแก้หลอดลมอักเสบ ผลสุก แก้บิด เปลือกและผลดิบ  ใช้เบื่อปลา

ไม้ ใช้ทำเครื่องมือต่างๆ ทำกระสวย ใช้สำหรับกลึง และแกะสลักได้ดี

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ตะลมพุก.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=285 (30 มกราคม 2560)

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "ตะลุมพุก." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=ตะลุมพุก (30 มกราคม 2560)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 153 น.

Flickr. “Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.flickr.com/photos/dinesh_valke/5663214101 (30 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-201523 (30 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้