รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01125


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ceiba pentandra (L.) Gaertn.

สกุล

Ceiba Mill.

สปีชีส์

pentandra

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Bombax cumanense KunthSynony

Bombax inerme L.

Bombax mompoxense Kunth

Ceiba caribaea (DC.) A.Chev.

Ceiba guineensis (Schumach.) A.Chev.

ชื่อไทย
นุ่น
ชื่อท้องถิ่น
ง้าว(กลาง,เหนือ) / งิ้วน้อย งิ้วสร้อย งิ้วสาย(เหนือ)
ชื่อสามัญ
White silk cotton tree / Kapok
ชื่อวงศ์
MALVACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูง 10-30 ม. เปลือกต้นสีเขียว

ใบ ประกอบแบบพัด 8-20 ซม. มีใบย่อย 5-11 ใบ รูปใบหอกโคนใบเรียว ปลายใบแหลมเป็นหาง ขอบใบเรียบ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-12 ซม. มีหนาม

ดอก ออกเป็นหระจุก 1-5 ดอก กลีบดอกสีขาวนวล รูปไข่กลับ กลีบรองดอกรูปถ้วย 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาว 3-5 ซม. 

ผล รูปรี ปลายแหลม กว้าง 5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ภายในมีขนปุย สีขาวอัดแน่น

เมล็ด เมล็ด จำนวนมาก สำดำ ค่อนข้างกลมเรียบ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ชอบขึ้นตามริมลำธาร

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์

ปลูกทั่วไปในประเทศเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชเศรษฐกิจ

เปลือกต้น รสเย็นเอียน แก้ไข้ แก้บิด แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ทำให้อาเจียน บำรุงกำหนัด ต้มดื่มแก้หืด แก้หวัดในเด็ก ต้มร่วมกับหมาก ลูกจันทน์เทศ และน้ำตาล ดื่มขับปัสสาวะ ใช้ได้ดีในรายที่เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 

ดอกแห้ง แก้ไข้ แก้ปวด ราก รสจืดเอียน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง แก้บิดเรื้อรัง แก้ท้องเสีย ทำให้อาเจียน ขับปัสสาวะ แก้พิษแมลงป่อง ตำคั้นเอาน้ำดื่ม แก้เบาหวาน เมล็ด รสเอียนมัน น้ำมันจากเมล็ด รสร้อน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ยางไม้ รสฝาดเมา เป็นยาบำรุงกำลัง ฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ระดูขาวมากเกินไป 

ใบ รสเย็นเอียน ตำพอกแก้ฟกช้ำ เผาไฟ ผสมหัวขมิ้นอ้อยและข้าวสุก พอกฝี ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ แก้โรคเรื้อน ตำกับหัวหอม ขมิ้น ผสมน้ำดื่มแก้ไอ แก้เสียงแหบ แก้หวัดลงท้อง แก้ท่อปัสสาวะอักเสบ ใบอ่อน รับประทานแก้เคล็ดบวม 

ราก แก้บิด แก้ลำไส้อักเสบ คั้นเอาน้ำ ทานแก้โรคเบาหวาน 

เมล็ด ขับปัสสาวะ

ฝักอ่อน ที่เนื้อยังไม่เปลี่ยนเป็นปุยนุ่น ใช้เป็นอาหารได้ โดยรับประทานสด หรือใส่แกง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “นุ่น.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=983 (18 กรกฎาคม 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “นุ่น.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=62 (18 กรกฎาคม 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง ( องค์กรมหาชน ). 2553. “White silk cotton tree.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=280&name=White%20silk%20cotton%20tree (18 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Ceiba pentandra (L.) Gaertn.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2707382 (18 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Ceiba pentandra (L.) Gaertn.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:1166232-2 (18 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้