รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01127


ชื่อวิทยาศาสตร์

Celastrus paniculatus Willd.

สกุล

Celastrus L.

สปีชีส์

paniculatus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Catha paniculata Scheidw.

Ceanothus paniculatus Roth

Celastrus alnifolius D.Don

Celastrus euphlebiphyllus (Hayata) Makino & Nemoto

Celastrus euphlebiphyllus (Hayata) Kaneh.

Celastrus metzianus Turcz.

Celastrus nutans Roxb.

ชื่อไทย
มะแตก
ชื่อท้องถิ่น
กระทงลาย (กลาง นราธิวาส)/ กระทุงลาย โชด (กลาง)/ นางแตก (นครราชสีมา)/ มะแตกเครือ มักแตก (ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
CELASTRACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มเลื้อย สูง 2-10 ม.

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนสอบมน ปลายแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.

ดอก กลีบรองดอก 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูประฆัง กลีบดอกรูปขอบขนาน ปลายมน กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 2.5-3 มม. เกสรผู้มี 5 อัน ยาว 3 มม. ดอกเพศเมียเหมือนดอกเพศผู้ เกสรผู้เป็นหมันยาว 1 มม.

ผล กลม ขนาด 6-10 ซม. แตกออกตามสันพู เนื้อหุ้มเมล็ดสีแดง

เมล็ด 3-6 เมล็ด ยาว 3.5-5.0 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ตั้งแต่ความสูง 200-1800 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

พืชในจีนัสนี้มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น มาดากัสการ์ มหาสมุทรแปรซิฟิก อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์

พืชในจีนัสนี้มีการกระจายพันธุ์ไปยังเชโกสโลวะเกีย นิวซีแลนด์เหนือ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกงใช้ใส่แกงหน่อไม้หรือแกงแค(ไทลื้อ)
เมล็ด นำไปคั้นเอาน้ำมัน มาใช้ทาตัว แก้อาการเคล็ดขัดยอก(คนเมือง) นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือกิน เป็นยาแก้โรคอัมพาต และโรคปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นยาแก้ไข้ เมื้อคั้นเอาน้ำมันจากเมล็ด ใช้เป็นยาแก้โรคเหน็บชา ขับเหงื่อ
ราก ตากแห้งต้มน้ำดื่มกับข้าวเปลือกข้าวเจ้า แก้อาการปวดท้องบิด(คนเมือง) แก้ไข้มาลาเรีย แก้สตรีคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้ บำรุงน้ำนม ใบ แก้บิด ถอนพิษเบื่อเมา ผล แก้พิษงู แก้จุดเสียด แก้ปวดกล้ามเนื้อ เหน็บชา เมล็ด แก้ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ และอัมพาต น้ำมันในเมล็ด แก้เหน็บชาและขับเหงื่อ
ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรควัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย
ใบ ใช้เป็นยาแก้โรคบิด กระตุ้นประสาท และใช้เป็นยาถอนพิษฝิ่น วิธีใช้ด้วยการต้ม หรือคั้นเอาน้ำกิน
เปลือก ใช้เป็นยาทำแท้ง
ผล ใช้เป็นยาแก้ลมจุกเสียด บำรุงเลือด และใช้เป็นยาถอนพิษงู

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “มะแตกเครือ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=984 (16 กุมภาพันธ์ 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “กระทุงลาย, มะแตก, หมากแตก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=281&name=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2,%20%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81,%20%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%20&txtSearch=&sltSearch= (16 กุมภาพันธ์ 2560)

Entheology. 2016. “Celastrus paniculatus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://entheology.com/plants/celastrus-paniculatus-celastrus-seeds/ (16 กุมภาพันธ์ 2560)

The Plant List. 2013. “Celastrus paniculatus Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2707638 (16 กุมภาพันธ์ 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Celastrus L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30042347-2 (16 กุมภาพันธ์ 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้