รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01129


ชื่อวิทยาศาสตร์

Celosia argentea L.

สกุล

Celosia L.

สปีชีส์

argentea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Amaranthus cristatus Noronha

Amaranthus huttonii H.J.Veitch

Amaranthus purpureus Nieuwl.

Amaranthus pyramidalis Noronha

ชื่อไทย
หงอนไก่ไทย
ชื่อท้องถิ่น
กระลารอน ชองพุ (ปราจีนบุรี)/ ดอกด้าย ด้ายสร้อย (ภาคเหนือ)/ พอคอที (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Cocks comb/ Foxtail amaranth
ชื่อวงศ์
AMARANTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี สูง 30-90 ซม. ลำต้นและกิ่งก้านที่แตกออกจะตั้งตรงขึ้น ลำต้นฉ่ำน้ำ มีร่องตามยาว เปลือกลำต้นมีสีเขียวถึงม่วงแดง 

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหอกเรียวยาว โคนใบสอบ ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบยาว 5-9 ซม. กว้าง 1-3 ซม. ใบมีสีเขียว และสีแดงอมม่วง ใบตอนล่างมีขนาดใหญ่กว่าใบช่วงบน ก้านใบยาว 0.3-1.7ซม.

ดอก ออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นแท่งกลม ตั้งตรงขึ้น ออกบริเวณซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมากอยู่ติดกับแกนช่อดอกหนาแน่น ปลายช่อดอกแหลม ดอกจะออกตามปลายกิ่งและที่ซอกใบ มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดขาวมีลำต้นสีเขียว ชนิดแดงลำต้นและใบมีสีแดงอมม่วง ช่อดอกยาว 3-10 ซม. อัดแน่นอยู่ในช่อเดียว และบิดจีบม้วนไปมาอยู่ในช่อ ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบเลี้ยงบาง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวปลายแต้มสีชมพู อยู่ติดกันเป็นกระจุก ใบประดับ 2 ใบ ไม่มีก้านดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน 

ผล ผลแห้งแตกได้ รูปไข่ กลมรี มีเมล็ดจำนวนมาก กลมแบนสีดำ เป็นมัน แข็ง  ขั้วด้านหนึ่งบุ๋มลง 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปตามริมทาง ชายน้ำ ป่าโปร่ง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา

การกระจายพันธุ์

 โคลัมเบีย คิวบา เชโกสโลวะเกีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เม็กซิโก พม่า เนปาล บังคลาเทศ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล ฯลฯ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ตำรายาไทย ดอก รสฝาดเฝื่อน แก้บิด ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ตกขาว แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ดอก ก้าน ใบ ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารมีเลือด แก้บิด มูกเลือด ตกเลือด ตกขาว และแก้ตาแดง ใบ ใช้ห้ามเลือด ทาแก้ผดผื่นคัน ใบ กิ่งก้าน รสฝาดเฝื่อน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้บิด แก้ผดผื่นคัน ห้ามเลือดเมล็ด รสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ขับลมร้อนในตับ แก้ความดันโลหิตสูง แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ตาปวด เยื่อตาอักเสบ ทำให้ตาสว่าง แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด เลือดกำเดาไหล แก้เม็ดผดผื่นคัน อักเสบ ดอกและเมล็ด ใช้ห้ามเลือด ใช้แก้เลือดกำเดาออก ราก รสขมเฝื่อน  แก้ไข้ที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ หรือไข้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย ไข้พิษ แก้โลหิตเป็นพิษ บำรุงธาตุ แก้หืด แก้เสมหะ

-นิยมปลูกเพื่อเป็นพืชไม้ประดับยังสถานที่ต่างๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “ สร้อยไก่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88&keyback=%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88 (21 มิถุนายน 2560)

Phargarden.com. 2010. “หงอนไก่ไทย” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=159 (21 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Celosia argentea L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2707791 (21 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Celosia argentea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:316350-2 (21 มิถุนายน 2560)

 

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้