รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01132


ชื่อวิทยาศาสตร์

Celosia argentea L. var.cristata (L.) Kuntze 'Comb Neon Rose'

สกุล

Celosia L.

สปีชีส์

argentea

Variety

Comb Neon Rose

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Amaranthus cristatus Noronha

Amaranthus huttonii H.J.Veitch

Amaranthus purpureus Nieuwl.

Amaranthus pyramidalis Noronha

ชื่อไทย
หงอนไก่ Comb Neon Rose
ชื่อท้องถิ่น
กระลารอน ชองพุ (ปราจีนบุรี)/ ดอกด้าย ด้ายสร้อย (ภาคเหนือ)/ พอคอที (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Cocks comb/ Foxtail amaranth
ชื่อวงศ์
AMARANTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1.0-1.5 ม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก ผิวขรุขระ
ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปหอกหรือรูปแถบแคบ กว้าง 1-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นและมีไข
ปกคลุม เส้นใบนูนเด่นด้านท้องใบ 
ดอก ดอกช่อออกที่ปลายยอด ช่อดอกกว้าง 1.5-2.0 ซม. ช่อดอกมี 2 แบบคือ รูปทรงกระบอกและแบบรูปหงอนไก่ บางครั้งพบทั้งสองแบบในต้นเดียวกัน กลีบรวมมี 4 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.6-1.0 ซม. เกสรเพศผู้ปลายแหลมมี 5 อัน ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นแผ่นย่น เป็นก้อนกลม ใบประดับรองดอกขนาดเล็กเป็นเส้นคล้ายกำมะหยี่ ดอกสมบูรณ์เพศ สีคล้ายกุหลาบ
ผล ผลรูปไข่ค่อนข้างกลม สีดำเป็นมัน ขนาดเล็ก ผลแห้งแตกแบบมีฝาเปิด สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ เป็นมัน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง และระบายน้ำได้ดี

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา

การกระจายพันธุ์

โคลัมเบีย คิวบา เชโกสโลวะเกีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เม็กซิโก พม่า เนปาล บังคลาเทศ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล ฯลฯ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเพื่อเป็นพืชไม้ประดับยังสถานที่ต่างๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “ สร้อยไก่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88&keyback=%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88 (22 มิถุนายน 2560)

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล. 2555. “หงอนไก่” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/ngonkai.htm (22 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Celosia argentea L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2707791 (22 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Celosia argentea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:316350-2 (22 มิถุนายน 2560)

Wikipedia. 2016. “หงอนไก่เทศ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8 (22 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้