รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01149


ชื่อวิทยาศาสตร์

Centotheca lappacea (L.) Desv. 

สกุล

Centotheca Desv.

สปีชีส์

lappacea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Anthoxanthum pulcherrimum Lour.

ชื่อไทย
หญ้ารีแพ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Barbed grass/ Rumput Lilit Kain/ Rumput Darah
ชื่อวงศ์
POACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น หญ้ารีแพร์ เป็นพืชล้มลุกตระกูลไผ่ อายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้องทรงกลม ขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 – 70 ซม. ลำต้นถูกหุ้มด้วยกาบใบ สีเขียวอมม่วง ลำต้นไม่มีแก่น อ่อน และหักง่าย แต่เหนียวเด็ดด้วยมือขาดได้ยาก โคนลำต้นแตกหน่อแยกเป็นต้นใหม่ และกลายเป็นกอใหญ่ได้

ใบ หญ้ารีแพร์เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แทงใบออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงเยื้องสลับกันตามความสูงของลำต้น มีกาบใบสีเขียวอมม่วงหุ้มลำต้นตั้งแต่บริเวณเหนือข้อขึ้นมา ก้านใบสั้นติดกับกาบใบ ลิ้นใบ (Ligule) เป็นแผ่นบางๆ สีน้ำตาลติดกับโคนก้านใบ แผ่นใบมีรูปหอก กว้างประมาณ 1.5-3.0 ซม. ยาวประมาณ 5-20 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบ มีสีเขียวเข้ม ขอบใบโค้งเป็นลูกคลื่นขวางเข้าหากลางใบ แผ่นใบมีเส้นใบเป็นริ้วเล็กจำนวนมากตามแนวยาวของใบ

ดอก หญ้ารีแพร์ออกดอกเป็นช่อแขนง คล้ายช่อของดอกหญ้าทั่วไป ช่อดอกแทงออกบริเวณปลายยอดของลำต้น มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 15 – 45 ซม. ประกอบช่อดอกย่อย (Spikelets) ที่ประกอบด้วยดอกย่อย 10-30 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้นๆ

เมล็ด เมล็ดหญ้ารีแพร์มีลักษณะรียาว กว้างประมาณ 2-3 มม. ยาวประมาณ 4-6 มม. เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมล็ดแก่มีสีเหลือง บริเวณกาบหุ้มเมล็ดด้านล่างมีติ่งแหลมคล้ายหนาม ที่ทำหน้าที่ปักยึดขนสัตว์หรือเสื้อผ้า เพื่อให้เมล็ดติดไปหล่นห่างจากลำต้น

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

การปลูกหญ้ารีแพร์ควรปลูกในหน้าฝน

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น มหาสมุทรแปรซิฟิก

การกระจายพันธุ์

อินเดีย มาเลเเซีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย 

การปลูกและการขยายพันธุ์

หญ้ารีแพร์จะแพร่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก แต่หากนำมาปลูกสามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด และการแยกเหง้าปลูก

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์

1. หญ้ารีแพร์ถูกใช้ประโยชน์มากในแง่สมุนไพร โดยเฉพาะในสตรีหลังคลอดบุตรที่ช่วยให้ช่องคลอดกระชับ และมดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น ด้วยการต้มดื่มหรือคั้นน้ำทาบริเวณช่องคลอด นอกจากนั้น ยังใช้เพื่อการดูแลผิวพรรณให้แลดูสดใส
2. สารสกัดจากหญ้ารีแพร์ใช้เป็นเครื่องสำอาง อาทิ ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด ทำหน้าที่ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้น ผิวพรรณแลดูเปล่งปลั่ง นอกจากนั้น สารสกัดจากหญ้ารีแพร์ยังใช้เป็นส่วนผสมของอาหารเสริม ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างคอลลาเจน 
3. หญ้ารีแพร์ใช้ปลูกเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง อาทิ โค กระบือ แพะ และแกะ เป็นต้น
4. หญ้ารีแพร์เป็นพืชเศรษฐกิจสมุนไพรตัวใหม่ ทั้งแบบเก็บจากแหล่งธรรมชาติ และการปลูกเพื่อจำหน่ายในรูปหญ้ารีแพร์สด และหญ้ารีแพร์แห้ง กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นสตรีหลังคลอดบุตร

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

National Parks Board. 2013. “.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=1797 (17 กันยายน 2560)

Puechkaset.com. 2017. “หญ้ารีแพ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%8C/ (25 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Centotheca lappacea (L.) Desv.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-404042 (25 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Celosia argentea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:316350-2 (25 มิถุนายน 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้