รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01154


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cerbera manghas L.

สกุล

 Cerbera L.

สปีชีส์

manghas

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cerbera linnaei Montrouz.

Cerbera tanghin Hook.

Cerbera venenifera (Poir.) Steud.

Elcana seminuda Blanco

Odollamia manghas (L.) Raf.

Odollamia moluca Raf.

Tabernaemontana obtusifolia Poir.

Tanghinia manghas (L.) G.Don

Tanghinia veneneflua G.Don

Tanghinia venenifera Poir.

ชื่อไทย
ตีนเป็ดทราย
ชื่อท้องถิ่น
ตีนเป็ดเล็ก (กลาง สุราษฎร์ธานี)/ เทียนหนู เนียนหนู (สตูล)/ ปงปง (พังงา)/ ปากเป็ด (ตราด)/ รักขาว (จันทบุรี เหนือ)
ชื่อสามัญ
Sea Pong Pong/ Pink-eyed Cerbera/ Pong-pong/ Buta Buta/ Nyan/ Pink-eyed Pong Pong Tree/ Tanghin Poison
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 ซม.ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว เปลือกเรียบสีเทา มี

ใบ เดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง อยู่เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปไข่กลับยืดตัว กว้าง 4-7 ซม. ยาง 14-25 ซม. ปลายใบป้าน ฐานใบแคบขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบโค้งเหมือนคันศร ก้านใบยาว 1-2 ซม.ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน

ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 1.5-2.0 ซม. กลีบเลี้ยงแยก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สองกลีบด้านนอกจะใหญ่กว่า 3 กลีบด้านใน กลีบเล็กรูแถบแกมรูปไข่กลีบ กลีบใหญ่รูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคลี่ออกตั้งฉากกับก้านดอกตั้งแต่ดอกยังตูม ดอกสีขาว ปากหลอดสีชมพูปนแดงเข้ม โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเขียว ปลายหลอดพองออกเล็กน้อย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกัน เวียนเป็นเกลียว กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะแหลมกว่าปลายอีกด้านหนึ่ง ปลายกลีบโค้งและหยัก มีรยางค์แหลมยื่นออกมาที่ปากหลอดระหว่างกลีบดอก

ผล ผลเกิดเป็นคู่ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-9 ซม. ผิวผลสีเขียวเป็นมัน เมื่อสุกสีแดงปนดำ เนื้อนิ่ม

เมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบมากในบริเวณที่เป็นดินทราย บริเวณแนวชายฝั่งทะเล และบริเวณป่าชายเลนเชิงทรงที่ติดกับหาดทราย

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น แอฟริกา มหาสมุทรแปรซิฟิก

การกระจายพันธุ์

หมู่เกาะในบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกเกือบตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ออกผลเกือบตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นพืชประดับ

หมายเหตุ

ผลมี cardiae glycoside มีความเป็นพิษสูง และก่อให้เกิดการระคายเคือง

แหล่งอ้างอิง

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.กรุงเทพมหานคร.

มูลนิธิสวนหลวง ร.9. 2542. พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 139 น.

National Parks Board. 2013. “Cerbera manghas L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=2799 (18 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Cerbera manghas L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-37166 (26 มิถุนายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Cerbera manghas.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77906-1 (26 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2014. “Cerbera manghas.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Cerbera+manghas (26 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้