รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01155


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cerbera odollam Gaertn.

สกุล

Cerbera L.

สปีชีส์

odollam

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cerbera dilatata Markgr.

Cerbera forsteri Seem.

Cerbera lactaria Buch.-Ham. ex Spreng.

Odollamia malabarica Raf.

Tanghinia lactaria (Buch.-Ham. ex Spreng.) G.Don

Tanghinia odollam (Gaertn.) G.Don

ชื่อไทย
ตีนเป็ดทะเล
ชื่อท้องถิ่น
ตีนเป็ด ตีนเป็ดน้ำ (กลาง)/ สั่งลา (กระบี่)/ ตุม ตูม พะเนียงน้ำ (กาญจนบุรี)/ มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส)
ชื่อสามัญ
Pong Pong
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก สูง 5-15 ม. ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแผ่กว้าง ทรงกลม ทุกส่วนมีน้ำยาวสีขาว เปลือกเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบรูปหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน โคนใบสอบแคบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ก้านใบยาว 2-3 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง สีขาว ดอกย่อยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ

ผล เป็นผลสด สีเขียว ค่อนข้างกลม ขนาด 6-10 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เมื่อผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมม่วงถึงม่วงเข้ม

เมล็ด มีขนาดใหญ่ หนึ่งผลมีประมาณ 1-2 เมล็ด มีลักษณะแข็ง เบา และลอยน้ำได้

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนน้ำท่วมถึง และบริเวณอิทธิพลของน้ำกร่อย

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน มหาสมุทรแปรซิฟิก รัฐควีนแลนด์ในออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

ประเทศตรินิแดดและโตเบโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

การตอนกิ่งและเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ออกผลตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ราก แก้ลม ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับผายลม

ใบ แก้หวัด รักษาโรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน แก้อาเจียนเป็นเลือด ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง

เปลือก แก้ไข้ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ อาการบิด ช่วยสมานลำไส้ ยาถ่าย ยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว

ผล ช่วยฆ่าเหา รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง โรคกลัวน้ำ ระงับอาการปวด ปวดตามข้อ และปวดตามกล้ามเนื้อ ผลแห้งนำมาเผาไฟตำผสมกับน้ำมันพืชทาแก้ปวด

เมล็ด แก้ผมหงอก บำรุงหัวใจ ยาถ่าย ยาระบาย แก้หิด ใช้เบื่อปลา และทำไม้ประดับแห้ง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.กรุงเทพมหานคร.

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2542. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 151 น.

ThaiHerbal.org. 2014. “ตีนเป็ดน้ำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1564 (10 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Cerbera odollam Gaertn.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-37178 (10 มิถุนายน 2559)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Cerbera odollam.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77913-1 (10 มิถุนายน 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้