รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01179


ชื่อวิทยาศาสตร์

Chionanthus ramiflorus Roxb.

สกุล

Chionanthus L.

สปีชีส์

ramiflorus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Linociera macrophylla Wall. & G.Don

Chionanthus effusiflorus F.Muell. 

ชื่อไทย
อวบดำ
ชื่อท้องถิ่น
เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี)/ ตาไชใบใหญ่ (ตรัง)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
OLEACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 ม. เรือนยอด ค่อนข้างโปร่ง กิ่งก้านเรียวเล็กและลู่ลง เล็กน้อย เปลือกนอกค่อนข้างเรียบ หรือแตก เป็นร่องตื้น สีน้ำตาล

ใบ:  เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปรี ขนาด กว้าง 3.5-7 ซม. ยาว 9-25 ซม. ปลายเรียว แหลม โคนสอบ ขอบเรียบ เนื้อหนา ผิวเกลี้ยง ทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบยาว 1.2-3 ซม. 

ดอก:  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ ปลายกิ่งหรือง่ามใบ ก้านดอกย่อยสั้นมาก หรือไม่มี หลอดกลีบเลี้ยงสั้น ปลายแยกเป็น 4 แฉกตื้นๆ หลอดกลีบดอกยาวเท่ากับ กลีบเลี้ยงปลายแยก 4 กลีบ แต่ละกลีบ รูปใบหอก ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง สีขาว เกสรเพศผู้ 2 อัน ไม่มีก้านชูอับเรณู อับเรณู รูปร่างกลม มีติ่งที่ปลาย ยอดเกสรเพศเมียมี 2 พู

ผล:  สด เมล็ดเดียวแข็ง รูปไข่หรือรูปขอบ ขนาน ขนาด 1-1.5 x 1.5-2 ซม. ปลายมน ผิวเกลี้ยง เนื้อบาง ก้านผลอวบสั้น โคนผลมีชั้น กลีบเลี้ยงติดทน ผลสุกสีม่วงดำ 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ ทางภาคเหนือและภาคใต้ สูง 50-1,000 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

หมู่เกาะโมลุกกะ

การกระจายพันธุ์

อินเดีย เนปาล เวียดนาม ออสเตรเลีย แถบทะเลแปซิฟิค

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ราก ต้มน้ำอมช่วยให้ฟันทน และเคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่ 

ลำต้น ใช้ในตำรับยาตะแบกป่า โดยนำมาผสมกับเนื้อไม้ตะแบกป่า (มะเกลือเลือด) ต้มน้ำดื่มรักษาโรคมุตกิด โรคระดูขาว รักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีเนื่องจากรอบเดือนผิดปกติ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “อวบดำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=285 (25 พฤษภาคม 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “พลู่มะลี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=245 (25 พฤษภาคม 2560)

Australian Tropical Rainforest Plants. “Chionanthus ramiflorus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://keys.trin.org.au/key-server/data/0e0f0504-0103-430d-8004-060d07080d04/media/Html/taxon/Chionanthus_ramiflorus.htm (25 พฤษภาคม 2560)

Flora of China. “Chionanthus ramiflorus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=210000249 (25 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Chionanthus ramiflorus Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-367514 (25 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Chionanthus L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:328105-2 (25 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้