รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01190


ชื่อวิทยาศาสตร์

Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob. 

สกุล

Chromolaena DC.

สปีชีส์

odorata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Chrysocoma maculata Vell.

Chrysocoma maculata Vell. Conc.

Chrysocoma volubilis Vell. Conc.

Eupatorium brachiatum Sw. ex Wikstr.

Eupatorium clematitis DC.

Eupatorium conyzoides Mill.

ชื่อไทย
สาบเสือ
ชื่อท้องถิ่น
ช้าผักคราด ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์ธานี)/ บ้านร้าง (ราชบุรี)/ เบญจมาศ (กทม. ตราด)/ ผักคราด (ราชบุรี เหนือ)/ ฝรั่งรุกที่/ ฝรั่งเหาะ (สุพรรณบุรี)/ มุ้งกระต่าย (ราชบุรี อุดรธานี)/ รำเคย ระนอง)/ หญ้าดอกขาว (กทม. อ่างทอง)/ หญ้าฝรั่งเศส (จันทบุรี ตราด)/ หญ้าพระศิริไอยสวรรค์
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ASTERRACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 ม. อายุหลายปี

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบหยัก

ดอก ดอกสีขาวถึงม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นก้อน ขนาด 4-8 มม. ดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อัน อยู่ภายในหลอดดอก

เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปกระสวย แบน ส่วนปลายมีขนยาวสีขาว 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แสงแดดส่องถึง

ถิ่นกำเนิด

เม็กซิโก

การกระจายพันธุ์

พืชในจีนัสนี้มีการกระจายพันธุ์ไปยังออสเตรเลีย อนุทวีปอินเดีย อินโดจีน แอฟริกาใต้ แอฟริกาตะวันตกตะวันตก แอฟริกาตะวันตก - แอฟริกากลาง

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ซึ่งเมล็ดมีขนาดเล็ก รูปกระสวย แบน ส่วนปลายมีขนยาวสีขาว ช่วยในการกระจายพันธุ์โดยลม

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ดอก ดอกสาบเสือมีสรรพคุณช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้กระหายน้ำ

ใบ ช่วยแก้ตาฟาง ตาแฉะ

 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 205 น.

Flora of China. “Chromolaena odorata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=242312602 (3 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-24352 (3 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Chromolaena DC.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:8269-1 (3 กรกฎาคม 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้