รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01207


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.

สกุล

Cinnamomum Schaeff.

สปีชีส์

porrectum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Camphora chinensis Nees

Camphora inodora Blume ex Miq.

Camphora inuncta Nees

Camphora parthenoxylon (Jack) Nees

Camphora porrecta (Roxb.) Voigt

Camphora pseudosassafras Miq.

Cinnamomum inodorum (Blume ex Miq.) Meisn.

Cinnamomum inunctum (Nees) Meisn.

Cinnamomum malaccense Meisn.

ชื่อไทย
เทพทาโร
ชื่อท้องถิ่น
พันคีต้น (ชัยภูมิ)/ จะไคหอม จะไคต้น (ภาคเหนือ)/ จวงหอม จวง (ภาคใต้)/ พลูต้นขาว (เชียงใหม่)/ มือมะมางิง (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
Safrol laurel/ Selasian wood
ชื่อวงศ์
LAURACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10 – 30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว

เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบ

ค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาว ยาว 7–20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5–3.5 ซม.

ดอก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง

ผล ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 ซม. สีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3-5 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ห่าง ๆ บนเขาในป่าดงดิบ แต่พบมากที่สุดทางภาคใต้ พื้นที่สูง 1,700 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกและตะวันตก

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน พม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชวัสดุ,พืชให้ร่มเงา

-สมุนไพร, เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย

-นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. “เทพทาโร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3.htm (11 มกราคม 2560)

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “เทพทาโร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3&keyback=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3 (11 มกราคม 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เทพทาโร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1435&view=showone&Itemid=132 (11 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2721550 (11 มกราคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Cinnamomum porrectum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:328262-2 (11 มกราคม 2560)

Wikipedia. 2013. “Cinnamomum porrectum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Cinnamomum_parthenoxylon (11 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้