รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01252


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cladogynos orientalis Zipp. ex Span. 

สกุล

Cladogynos Zipp. ex Span.

สปีชีส์

orientalis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Adenochlaena siamensis Ridl.

Adenogynum odontophyllum Miq.

Baprea bicolor Pierre ex Pax & K.Hoffm.

ชื่อไทย
เจ็ดตะพังคี
ชื่อท้องถิ่น
ใบหลังขาว (ภาคกลาง)/ ตองตาพราน (สระบุรี)/ ตะเกีย เปล้าเงิน หนาดตะกั่ว (นครพนม)/ เปล้าน้ำเงิน (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 2 ม. กิ่งก้านมีขนรูปดาวสีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาลขรุขระ ทุกส่วนมีขน รากมีเปลือกหุ้มเป็นเยื่อบางสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน หรือเป็นทรงกลมแคบ ขอบใบหยักไม่สม่ำเสมอ แผ่นใบหนา ด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างมีขนสีขาวจำนวนมาก ทำให้มองเห็นแผ่นใบสีขาวหรือสีเงิน ก้านใบยาว 1.5-5.0 ซม. มีขน หูใบรูปหอก ขนาดประมาณ 3 มม. ที่ฐานมีต่อม 1 ต่อม เส้นใบข้าง 4-5 คู่

ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ยาวประมาณ 2.5 ซม. ก้านช่อยาว 1 ซม. ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน แต่ละช่อมีดอกเพศเมีย 1 ดอก ดอกเพศผู้ 1-2 ดอก ดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาด 1.5-2 มม. มีขนนุ่มรูปดาว เกสรเพศผู้สีเหลือง

ผล ผลรูปทรงกลม ผลแห้งไม่แตก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มม. แบ่งเป็น 3 พู ผิวเป็นลายเส้นสีขาวทั้งผล และมีขนนุ่มสีขาว 

เมล็ด เมล็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบ ป่าไม่ผลัดใบ  ป่าเขาหินปูน ที่ความสูง 200-500 ม. เหนือจากระดับทะเลปานกลาง 

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน จีนตอนใต้

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤศจิกายน
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-พฤศจิกายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ตำรายาไทย ราก รสเผ็ดขื่นเฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ช่วยขับลม แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง หรือนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาท้องเด็กอ่อน ทำให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคในกระเพาะและลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร หรือใช้ร่วมกับมหาหิงคุ์หรือการบูรก็ได้ หรือนำรากมาผสมกับรากกำยาน ต้มน้ำดื่ม บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ หรือผสมกับไพล กะทือบ้าน กะทือป่า กระเทียม ขิง พริกไทย ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง บดเป็นผงละลายน้ำตาลทรายพอหวาน ดื่มเป็นยารักษาธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในกระเพาะและลำไส้ ทั้งต้น ต้มน้ำหรือทำเป็นผง หรือดองเหล้า กินแก้ลมจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และท้องร่วง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Flora of China. “Cladogynos orientalis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=220002980 (10 กรกฎาคม 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2554. “เจตพังคี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=183 (10 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Cladogynos orientalis Zipp. ex Span.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-41385 (10 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Cladogynos.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:15204-1 (10 กรกฎาคม 2560)

Wikipedia. 2016. “Cladogynos.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Cladogynos (10 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้