รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01311


ชื่อวิทยาศาสตร์

Codariocalyx motorius (Houtt.) H.Ohashi 

สกุล

Codariocalyx Hassk.

สปีชีส์

motorius

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Codariocalyx gyrans (L.f.) Hassk.

Desmodium gyrans (L.f.) DC.

Desmodium gyrans var. roylei (Wight & Arn.) Baker

Desmodium motorium (Houtt.) Merr.

Desmodium roylei Wight & Arn.

ชื่อไทย
ช้อยนางรำ
ชื่อท้องถิ่น
ว่านมีดยับ/ หว้านมีดยับ (ลำพูน)/ แพงแดง (ประจวบคีรีขันธ์)/ ค่อยช้างรำ/ ช้อยช่างรำ นางรำ (ไทย)/ แพวแดง (อรัญประเทศ)/ เคยแนะคว้า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Telegraph Plant/ Semaphore Plant
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุกหรือ ไม้พุ่มขนาดเล็กจำพวกหญ้า ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 90 เซนติเมตร ส่วนผิวของลำต้นนั้นจะเป็นสีไม้แห้ง 

ใบ ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 ซม. และยาวประมาณ 2-7 ซม. แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีขนละเอียด

ดอก ดอกแทงออกจากด้างข้างหรือที่ยอด เป็นช่อดอกแบบติดดอกสลับ ก้านช่อดอกมีขน ดอกมีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่วแปบ แต่จะมีขนาดเล็กกว่าถั่วแปบมาก โดยกลีบดอกจะเป็นสีม่วงปนขาวหรือสีม่วงแดง และมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่ง

ผล ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน มีขนาดกว้างประมาณ 0.3 ม. และยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักจะมีเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด 

เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำ ลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วดำ แต่จะมีขนาดเท่าหัวไม้ขีด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

มักขึ้นเองตามป่าชื้นทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย กัมพูชา จีน อินเดีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

มีสรรพคุณทางยา ราก ยารักษาอาการเจ็บป่วย ยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด ยาขับปัสสาวะ

ลำต้น ยารักษาอาการเจ็บป่วย ยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด ยาดับพิษร้อนภายใน แก้ฝีภายใน ฝีในท้อง ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปรอทแข็งตัว 

ใบ ยารักษาอาการเจ็บป่วย ยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ และแก้ฝีภายใน ยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปรอทแข็งตัว

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ThaiHerbal.org. 2015. “ช้อยนางรำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/2585/2585 (17 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Codariocalyx motorius (Houtt.) H.Ohashi.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-33132 (17 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Codariocalyx motorius.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:486652-1(17 กรกฎาคม 2560)

Wikipedia 2017. “Codariocalyx motorius.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Codariocalyx_motorius (17 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้