Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Plectranthus</em> <em>scutellarioides</em> (L.) R.Br.</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Calchas</em> <em>acuminatus</em> (Benth.) P.V.Heath</p><p><em>Calchas</em> <em>atropurpureus</em> (Benth.) P.V.Heath</p><p><em>Calchas</em> <em>crispipilus</em> (Merr.) P.V.Heath</p><p><em>Calchas</em> <em>scutellarioides</em> (L.) P.V.Heath</p><p><em>Calchas</em> <em>scutellarioides</em> var. <em>angustifolia</em> (Benth.) P.V.Heath</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ลำต้น</strong> ไม้ล้มลุกอายุ 2-3 ปี สูงได้ถึง 150 ซม. ลำต้นตั้งตรงหรือขึ้นข้างบน มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาวสี่สัน ปกคลุมด้วยขนละเอียดค่อนข้างหนาแน่น รากไม่มีหัว</p><p><strong>ใบ</strong> ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่และเวียนสลับรอบลำต้นหรือกิ่ง ก้านใบยาว 1-8 ซม. ปกคลุมด้วยขนละเอียด แผ่นใบมีขนาด รูปร่าง และสีต่างๆกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่กว้างหรือเกือบกลม กว้าง 3-5 ซม. แต่อาจจะพบกว้างเพียง 1 ซม. หรือกว้างถึง 10 ซม. ยาว 4-7 ซม. แต่อาจจะสั้นเพียง 1 ซม. หรือยาวถึง 15 ซม. ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลมถึงเป็นติ่งแหลม โคนใบโค้งเป็นรูปตัดหรือสอบแคบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อยตื้นหรือลึก หรือหยักคล้ายลูกคลื่น ยกเว้นบริเวณโคนใบค่อนข้างเรียบ เนื้อใบบาง ผิวใบปกคลุมด้วยขนละเอียด เส้นใบข้าง 4-8 คู่</p><p><strong>ดอก </strong>ดอกออกจากซอกใบ ปลายกิ่ง หรือยอดลำต้น เป็นช่อกระจุกรอบ หรือช่อฉัตร หรือช่อกระจุกแยกแขนง ช่อดอกยาว 5-10 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 2-3 มม. ปลายแหลม มีขนละเอียดปกคลุม หลุดร่วงง่าย ดอกย่อยสมบูรณ์เพศมีขนาดเล็ก เรียงตัวรอบแกนช่อดอกเป็นกระจุกหรือเป็นชั้น แต่ละชั้นระยะค่อนข้างห่างกัน และมักจะถี่ขึ้นบริเวณปลายช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 4 พู ขนาดไม่เท่ากัน ยาว 1.2-1.5 มม. พูบนใหญ่รูปไข่กว้าง ปลายแหลมมน พูข้าง 2 ข้างขนาดเล็ก ปลายโค้งแบบรูปครึ่งวงกลม พูล่างสุดแคบแต่ยาวไล่เลี่ยกับพูบน ปลายแยกเป็น 2 ง่าม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุมและมีต่อมเป็นจุดประปราย กลีบดอกสีน้ำเงินหรือม่วงด้านนอก ด้านในสีขาว เชื่อมติดกันรูปร่างคล้ายกระบวย ปลายแยกเฉกมน 4 แฉก ขนาดความยาว 8-13 มม. แต่ดอกใหญ่มากอาจยาวได้ถึง 18 มม. มีขนละเอียดปกคลุม เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่ในหลอดกลีบดอกและโผล่ไม่พ้นกลีบดอก ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาวไล่เลี่ยกับเกสรเพศผู้ และไม่โผล่พ้นกลีบดอก</p><p><strong>ผล </strong>เป็นประเภทเปลือกแข็ง เมล็ดเดียว</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบในป่าบริเวณที่รกร้างว่างเปล่า ในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ถึงบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ตั้งแต่ระดับพื้นล่างถึงพื้นที่สูง 1,800 ม. จากระดับทะเลปานกลาง</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>เอชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น แอฟริกา ออสเตรเลีย </p>
การกระจายพันธุ์
<p>อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ประเทศในภูมิภาคอินโดจีนถึงประเทศในแถบคาบสมุทรมาเลย์ หมู่เกาะโซโลมอน โพลีเซีย และตอนเหนือของออสเตรเลีย</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>เพาะเมล็ด ปักชำ </p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>ราก</strong> ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้อาการปวดเฉียบพลันในท้อง ท้องเดิน</p><p><strong>ใบ</strong> ต้มดื่มแก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ใช้ขับพยาธิตัวแบนในท้อง และแก้ภาวะปัสสาวะลำบาก น้ำคั้นจากใบหยอดตาแก้ตาเจ็บ ใช้ใบถูตามบริเวณที่มีอาการบวมตามร่างกาย น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบทำเป็นยาทำแท้ง ขับระดู แก้ริดสีดวงทวาร ตาเจ็บ สมานแผล หรือแก้อาการเป็นตุ่มเป็นหนองตามร่างกาย ใบสดทำเป็นยาเปียกทาแก้รอยฟกช้ำและแก่อาการปวดหัว ใบอ่อนย่างไฟ บิดเอาน้ำใส่แผลสดและแผลเน่าเปื่อย เป็นยาสมานแผล</p><p><strong>ใบ ต้น</strong> ตำพอกแก้ปวดบวม พอกท้องในเวลาปวดท้อง พอกตาแก้ตาอักเสบ พอกแผลโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ต้มดื่มเป็นยาช่วยย่อยอาหาร แก้ธาตุพิการ แก้คลื่นไส้อาเจียน ปวดภายในช่องท้อง</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.</p><p>The Plant List. 2013. “Plectranthus scutellarioides (L.) R.Br.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-158489 (4 สิงหาคม 2560)</p><p>The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Plectranthus L'Hér.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:328178-2 (4 สิงหาคม 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้