รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01394


ชื่อวิทยาศาสตร์

Corypha utan Lam.

สกุล

Corypha L.

สปีชีส์

utan

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Corypha elata Roxb.

Corypha gebang Mart.

Corypha gembanga (Blume) Blume

Corypha griffithiana Becc.

Corypha macrophylla Roster

 

ชื่อไทย
ลานพรุ
ชื่อท้องถิ่น
ลานใต้ (ภาคกลาง ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
ebang Palm
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ปาล์มลำต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 25 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 60-90 ซม. กาบใบขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 40-60 ซม. ลำต้นเกลี้ยง มีสันและร่องเวียนรอบโดยชัดเจน

ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วนิ้วมือแกมขนนก ตั้งขึ้น 25-30 ใบ โดยกาบใบแยกออกจากกัน ทำให้เห็นเป็นรูปตัววีคว่ำ ก้านใบยาว 2.5-3.5 ม. กาบใบและก้านใบมีขนสีขาวปกคลุม ขอบกาบใบและขอบก้านใบมีหนามแหลมโค้ง 1-2 อัน สีดำ ยาว 2.5 ซม. ใบขนาด 3*3 ม. สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบโค้ง ใบย่อย 80-90 ใบ กว้าง 7-8 ซม. ยาว 170 ซม. ค่อนข้างแข็งและห้อยลง

ดอก ช่อดอกรูปไข่ตั้งขึ้น ออกที่ปลายยอดจำนวนมาก จะอยู่รวมกันแน่น ช่อดอกรวมยาว 4-7 ม. ก้านช่อดอกสั้นหรือไม่มี ช่อดอก กว้าง 4-6 ซม. ยาว 25-35 ซม. กิ่งย่อยอยู่ในแนวราบยาวได้ถึง 30-55 ซม. และอาจยกตั้งขึ้นยาว 2.5 ม. แตกกิ่งแขนงจำนวนมาก

ผล ทรงกลม ขนาด 2.5-3.0 วม. สีเหลือง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในที่ชื้นแฉะ ที่โล่ง หรือพื้นที่ที่ถูกบุกรุกบริเวณตอนกลางและใต้สุดของภาคใต้ ที่ระดับน้ำทะเลจนที่ความสูง 300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง ในประเทศไทยพบมากในแถบภาคใต้เขตอำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาและตามเส้นทางจากจังหวัดกระบี่ถึงพังงา

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน ออาเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

ในอินเดียถึงเิอาเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิวกินี และออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา 

ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทำผนังหรือฝาบ้าน

ก้านใบ ใช้ทำโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก

ลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่งประดับสวน ทำฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ภาคใต้บางแห่งใช้ทำครกและสาก 

 ผล ลูกตาลอ่อนนำเนื้อในมารับประทานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้งเปลือก โยนลงน้ำทำให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลา

ราก ใช้ฝนรับประทานแก้ร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม. 2555. “Corypha utan.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.siamensis.org/species_index?nid=34958#34958--Species : Corypha utan (20 เมษายน 2560)

โครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “เรื่องของต้นลาน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.bl.msu.ac.th/bailan/p_5.asp (20 เมษายน 2560)

พูนศักดิ์ วัชรากร. 2548. ปาล์มและปรงในไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. 271 น.

The Plant List. 2013. “Corypha utan Lam.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-48260 (20 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Corypha utan.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:666349-1 (20 เมษายน 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้