รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00137


ชื่อวิทยาศาสตร์

Adenoncos major Ridl.

สกุล

Adenoncos Blume

สปีชีส์

major

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 Adenoncos borneensis Schltr.

Sarcochilus major (Ridl.) F.N.Williams

ชื่อไทย
เอื้องหอม
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
The Large Adenoncos
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นค่อนข้างยาวและห้อยลง

ใบ: ใบรูปแถบมีหลายใบ กว้าง 1 ซม. ยาว 5-6 ซม. แผ่นใบหนาปลายแหลม

ดอก: ช่อดอกสั้นมากและมีหลายช่อ แต่ละช่อมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ทยอนบาน 2-3ดอก ดอกขนาด 0.6 ซม. ดอกสีเขียว กลีบดอกทุกกลีบอวบหนา กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายกลีบแหลม กลีบดอกรูปแถบปลายกลีบแหลม กลีบปากอวบหนา รูปไข่กลับปลายเรียวแหลม งุ้มงอเป็นอุ้งตื้นๆ ปลายกลีบด้านล่างเป็นติ่งเล็กๆ ปรากฎเด่นชัด กลางกลีบมีเนื้อเยื่อนูนสีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบชื้น ทั้งในที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดและที่ร่มรำไร ที่สูง 300-600 ม. จากระดับน้ำทะเล

ถิ่นกำเนิด

พืชในสกุล Adenoncos พบที่ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และนิวกินี

การกระจายพันธุ์

ไทย มาเลเซีย ประเทศไทยพบที่ : ชุมพร สุราษฎร์ธานี สตูล ตรัง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ยะลา

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกกอ

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับ นิยมปลูกเลี้ยงในกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้พันธุ์แท้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Orchid Species. “Adenoncos major Ridl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.orchidspecies.com/adenmajor.htm (30 มิถุนายน 2560)

Siam Exotica Plants. 2006. “Genus: Adenoncos.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.siamexotica.com/Orchid-Adenoncos.html (30 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Adenoncos major Ridl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-3112 (30 มิถุนายน 2560)

wikipedia. “Adenoncos.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Adenoncos (30 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้