รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01413


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cheilocostus speciosus (J.Koenig) C.D.Specht

สกุล

Cheilocostus C.D.Specht

สปีชีส์

speciosus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Amomum arboreum Lour.

Amomum hirsutum Lam.

Banksea speciosa J.Koenig

Cardamomum arboreum (Lour.) Kuntze

Costus angustifolius Ker Gawl.

ชื่อไทย
เอื้องหมายนา
ชื่อท้องถิ่น
เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช)/ เอื้องต้น (ยะลา)/ เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง)/ เอื้องดิน เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์ (ภาคใต้)/ ซูเลโบ ชู้ไลบ้อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ซูแลโบ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)/ กู่เก้ง (ม้ง)/ ลำพร้อก ลำพิย้อก(ลั้วะ)/ ดื่อเหม้ (ยึ)(ปะหล่อง)/ ชิ่งก๋วน (เมี่ยน)
ชื่อสามัญ
Crape ginger/ Malay ginger/ Spiral flag/ Wild ginger
ชื่อวงศ์
COSTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ต้นสูง 1-3 เมตร ขนาดผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม. ลำต้น อวบ แข็ง และตั้งตรง  สีแดง ปลายกิ่งมักโค้งเวียน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-40 ซม. ปลายใบเรียวแหลมโคนมน และมีกาบหุ้มรอบลำต้น ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างมีขนนุ่มสีขาวขนาดเล็ก

ดอก เป็นช่อออกที่ปลายกิ่งสีขาว กลีบแผ่กว้างหรือเกือบกลม กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ขอบกลีบย่นเป็นคลื่น ตรงกลางดอกมีแต้มสีเหลืองหรือสีชมพู ดอกจะทยอยบานทีละดอก ใบประดับรูปไข่ สีเขียว ออกแดงหรือแสดแดง มีเกสรเพศผู้ 3 อัน สมบูรณ์ 2 อัน เป็นหมัน 1 อัน

ผล ทรงกลมรีรูปกระสวยส่วนปลายมีกลีบประดับติดอยู่ สามารถแห้งแตกได้ เมื่อผลสุกเป็นสีแดง

เมล็ด เป็นเหลี่ยมมีสีดำเป็นมันเงา

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เป็นพืชที่เจริญได้ดีทั้งในร่มหรือกลางแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง พบตามชายน้ำและป่าดิบชื้นทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี

การกระจายพันธุ์

พบตั้งแต่อินเดียตะวันออก จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แบ่งกอ

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น ใช้ในพิธีกรรมก่อนการทำนาของชาวไทลื้อ (พิธีแฮกข้าว) โดยนำไปมัดติดกับตะแหลวร่วมกับดอกปิ้งแดงแล้วนำไปใส่ไม้ปักไว้ที่ไร่นาก่อนปลูกข้าวเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่ว่าต่อไปจะมาทำการปลูกข้าวที่ที่นาผืนนั้น ๆ ช่วยให้ข้าวเจริญงอกงาม

เหง้า ใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิและทำให้แท้ง ใช้ตำพอกบริเวณสะดือรักษาโรคท้องมาน ในเหง้าสดมีรสฉุน เย็นจัด มีพิษมาก มีสาร diosgenin ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงและเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์บางชนิด

ราก เป็นยาขม แก้ไอ ขับเสมหะ พยาธิ โรค

หน่ออ่อน นำไปประกอบอาหาร หรือลวกจิ้มน้ำพริก

ลำต้น นำไปต้มน้ำดื่มช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นำไปอังไฟแล้วบีบน้ำดื่มแก้โรคนิ่ว น้ำคั้นจากลำต้น นำไปหยอดหู รักษาอาการหูน้ำหนวก

ใบ ใช้ประกอบพิธีสู่ขวัญควาย ใช้เป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคนิ่ว ร่วมกับใบของมะละกอตัวผู้ และพืชอีกหลายชนิด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. 2553. “เอื้องหมายนา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkherb/120-costus (22 กรกฎาคม 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง ( องค์กรมหาชน ). 2553. “Crape ginger.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=348&name=Crape%20ginger (22 กรกฎาคม 2560)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 153 น.

The Plant List. 2013. “Cheilocostus speciosus (J.Koenig) C.D.Specht.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-343835 (22 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Cheilocostus C.D.Specht.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77074290-1 (22 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้