รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00142


ชื่อวิทยาศาสตร์

Adiantum caudatum L.

สกุล

Adiantum L.

สปีชีส์

caudatum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Adiantum caudatum var. angustilobatum Bonap.,

Adiantum lyratum Blanco

ชื่อไทย
เฟินหางนาคบก
ชื่อท้องถิ่น
กูดน้ำข้าว(เชียงใหม่) / ตีนตุ๊กแก(กทม.,สุพรรณบุรี) / หางนาคบก(กลาง)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
PTERIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เจริญเติบโตตามผิวดินหรืออิงอาศัย สูง 10-40 ซม. มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง มีเกล็ดสีน้ำตาลอมแดง รูปใบหอก ขอบเรียบ 

ใบ ใบแบบขนนก 1 ชั้น รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 15-30 ซม.โคนใบแคบ แกนกลางสีน้ำตาลอมแดง ก้านมีสีน้ำตาลอมแดง ยาว 1-10 ซม. ใบย่อยเรียงสลับ 20-44 คู่ ยาว 5-8 ซม. ตามแนวนอน แผ่นใบคู่ล่างลดรูปผิวเกลี้ยง คู่กลาง รูปกึ่งขอบขนาน กว้าง 0.6-1.0 ซม. ยาว 0.7-2.0 ซม. ทั้งใบคู่ล่างและคู่กลาง มีขนสั้นนุ่ม โคนใบไม่แน่นอน ขอบล่างเกือบตรง และเรียบ ขอบบนและขอบด้านนอก เป็นหยักลึก เป็นแฉก 

ดอก มีกลุ่มอับสปอร์ 5-12 อัน ต่อใบย่อย 

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ตามโขดหิน ร่องหิน ในป่าหรือภูเขา หรือหุบเหวหินปูน 100-1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง 

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ใช้สปอร์

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Flora of China. “Adiantum caudatum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200003519 (10 พฤศจิกายน 2559)

indoor-plants. “Adiantum caudatum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://indoor-plants.net/adiantum-caudatum/ (10 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Adiantum caudatum L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-26600008 (10 พฤศจิกายน 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้